Skip to main content

เล่าเรื่อง-เรียนรู้

คณะยุวทูตความดีเยือนสาธารณรัฐอินเดีย

พิพิธภัณฑ์มหาตมคานธี (Gandhi smriti Museum) ตั้งอยู่ที่ใจกลางกรุงนิวเดลี ภายในประกอบด้วยบ้านพักที่มหาตมคานธีเคยอาศัยอยู่ ก่อนที่จะถูกลอบสังหารในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2491 ในพิพิธภัณฑ์นำเสนอประวัติและเรื่องราวต่าง ๆ ในการเรียกร้องเอกราชของอินเดีย จากเครือสหราชอาณาจักรของมหาตมคานธี ทั้งมีห้องจัดแสดงรูปปั้นจำลองชีวิตของมหาตมคานธีรวมถึงของใช้ส่วนตัว ภาพถ่าย และเอกสารต่าง ๆ โดยรัฐบาลอินเดียถือกรรมสิทธิ์ครอบครองบ้านดังกล่าว และเปิดให้เข้าชมตั้งแต่ พ.ศ.2516 เป็นต้นมา เด็กหญิงชลิตา ทิวสระแก้ว โรงเรียนอนุบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น กุตับมีนาร์ (Qutab Minar) หรือ ปฤถวีสตัมภ์ ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของกรุงนิวเดลี เป็นถาวรวัตถุที่มีความงามได้สัดส่วน มีลักษณะเป็นหอสูง ภายนอกหอคอยสร้างขึ้นจากหินทรายสีแดง และได้สร้างเป็นลูกฟูกขึ้นไปอย่างเกลี้ยงเกลา ซึ่งแต่ละลูกฟูกจารึกเป็นอักษรอาระบิกจากบทสวดในพระคัมภีร์โกหร่าน โดยมีความสูง 238 ฟุต แบ่งออกเป็น 5 ชั้น และมีบันไดขึ้นไป 379 ขั้น ในปัจจุบันได้ปิดห้ามขึ้นไป เด็กหญิงชาลิสา โปษยะนันทน์ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ กรุงเทพมหานคร สุสานทัชมาฮาล (Taj Mahal) […]

คณะยุวทูตความดีเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

เมือง Wolfach เป็นเมืองที่อยู่ใกล้กับเมือง Hausach ซึ่งเมือง Wolfach เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในด้านการล่องแพและการขายไม้ ในเมืองนี้มีโรงงานเป่าแก้ว ซึ่งเป็นการเป่าแก้วแบบโบราณ เพราะพวกเขาอนุรักษ์วัฒนธรรมเก่าแก่เอาไว้ โดยการผลิตเครื่องประดับและของตกแต่งจากแก้ว โดยทำประกอบในเทศกาลต่าง ๆ เช่น เทศกาลคริสต์มาส เทศกาลอีสเตอร์ ฯลฯ ผู้คนส่วนมากก็จะมาซื้อเครื่องประดับจากที่นี่เพื่อนำไปตกแต่ง และอีกอย่างกว่าช่างเป่าแก้วของที่นี่จะเป็นช่างได้ พวกเขาต้องผ่านการฝึกปฏิบัติมายาวนานหลายปี เด็กหญิงโยษิตา อินต๊ะสงค์ โรงเรียนอนุบาลเชียงของ จังหวัดเชียงราย พิพิธภัณฑ์นาฬิกา หรือ Deustches Uhren Museum เป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมนาฬิกาทุกประเภททั่วโลกไว้ มีทั้งนาฬิกาแบบตั้ง นาฬิกาแบบแขวน นาฬิกาข้อมือ และนาฬิกากุ๊กกู kuckucksuhr cloch ของป่าดำอีกทั้งที่นี่ยังมี Organ หรือนาฬิกาที่บรรเลงเพลงได้ และสิ่งที่น่าสนใจที่สุดคือ นาฬิกาที่บอกเวลาโลก และการเคลื่อนที่ของดวงดาวของ Hans Lang นาฬิกานี้มีถึง 5 ด้าน สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2529 แต่ภายหลังจากที่ Hans Lang ได้เสียชีวิตลง นาฬิกาที่เขาประดิษฐ์ขึ้นก็ได้ถูกนำมาจัดไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ […]

คณะยุวทูตความดีเยือนสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

สุสานโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh’s Mausoleum) ที่นี่มีการป้องกันอย่างเข้มงวดโดยทหารในชุดเครื่องแบบสีขาว ซึ่งร่างของท่านโฮจิมินห์อยู่ที่นี่ ภายในเงียบมากได้ยินแต่เสียง ฝีเท้าเดินไปมาสุสานโฮจิมินห์เป็นเหมือนหัวใจของชาวเวียดนาม ด้วยท่านเป็นบุคคลสำคัญของเวียดนาม เป็นผู้กอบกู้เอกราชจากสงคราม เด็กชายชินดนัย ทองอ่อน โรงเรียนอุบลวิทยาคม จังหวัดอุบลราชธานี พิพิธภัณฑ์ชนเผ่า (Museum Tribes) พิพิธภัณฑ์นี้ได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ในส่วนแรกจะแสดงถึงความเป็นมาของชาวเวียดนาม โดยจะเป็นชาวเวียดนามร้อยละ 86 และชนเผ่าอื่นๆ อีก ร้อยละ 14 มีทั้งหมด 54 ชนเผ่า ส่วนที่สองจะแสดงถึงเครื่องแต่งกายของชาวเวียดนาม ส่วนสุดท้ายแสดงที่อยู่อาศัยของคนชนเผ่าต่าง ๆ เด็กหญิงกฤตลักษณ์ ปรางค์นอก โรงเรียนอนุบาลภูเวียง จังหวัดขอนแก่น วิหารวรรณกรรมวันเหมียว (Van Mieu) เดิมเป็นโรงเรียนขุนนาง และต่อมาเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของเวียดนาม สร้างขึ้นโดยพระเจ้าหลีไทโตง เพื่ออุทิศให้กับขงจื้อ ปราชญ์ชาวจีนผู้ยึดมั่นในคุณธรรม โดยในปี พ.ศ. 1619 ได้มีการสร้างโรงเรียนขุนนางบริเวณเดียวกับวัด เพื่อให้ขุนนางได้เล่าเรียนและสอบจอหงวน ปัจจุบันสถานที่นี้ได้เป็นวัดโบราณที่สำคัญของชาวเวียดนาม เด็กหญิงดวงนภา อุมงค์ โรงเรียนมุกดาลัย […]

คณะยุวทูตความดีเยือนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

เจดีย์โบดาเทาว์ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีความสำคัญในเมียนมา เจดีย์มีความสูงเพียง 40 เมตร ซึ่งเป็นเจดีย์ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2496 หลังจากที่เจดีย์องค์เดิมถูกทำลายไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 “โบดาเทาว์” หมายถึง ทหาร 1,000 นาย ตามตำนานในการอัญเชิญพระเกศาธาตุ จำนวน 8 เส้น จากประเทศอินเดียทางเรือ มาประดิษฐานไว้ชั่วคราวที่เจดีย์แห่งนี้ ระหว่างที่รอนำไปบรรจุไว้ในเจดีย์ชเวดากองเมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้น โดยพระเจ้าโอกะลาปะ กษัตริย์มอญ ได้ทรงมีบัญชาให้นำทหาร 1,000 นาย ไปตั้งแถวรับเสด็จพระบรมเกศาธาตุขณะนำขึ้นจากเรือมายังเจดีย์แห่งนี้ นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดยังเป็นที่ประดิษฐานของนัต โบ โบ ยี หรือ “เทพทันใจ” เทพศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่ศรัทธาของทั้งชาวเมียนมาอย่างสูง เด็กชายศุภวิชญ์ เสนีย์นนท์ โรงเรียนสายน้ำทิพย์ กรุงเทพมหานคร เทพทันใจ นัต โบ โบ ยี ที่เจดีย์โบตาเทาว์ เป็นเทพทันใจองค์ที่มีชื่อเสียงและคนไทยนิยมไปไหว้มากที่สุด ชาวเมียนมามีความเชื่อว่า “เทพทันใจ นัต โบ โบ ยี” เป็นนัตที่ปกปักรักษาพระเกศธาตุในเจดีย์โบตาทาวน์เป็นหนึ่งในนัตหลวงที่ชาวพม่าให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก เป็นเทพทันใจที่คนมาขอพรสมหวังกันแทบทุกราย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเงิน การงาน […]

คณะยุวทูตความดีเยือนมาเลเซีย

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (Muzium Negara) ตั้งอยู่ใจกลางเมืองหลวงกรุงกัวลาลัมเปอร์ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2502 เดิมเป็นพิพิธภัณฑ์สลังงอร์ (Selangor Museum) ซึ่งได้ถูกระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรทำลายในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายในมีการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของประเทศมาเลเซียตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การจัดแสดงวัตถุโบราณ พร้อมทั้งเรื่องราววิถีชีวิตของชาวมาเลย์ในรัฐต่าง ๆ  เด็กหญิงภัณภิรา ภูมิไสว โรงเรียนสฤษดิเดช จังหวัดจันทบุรี Muzium Negara มีการจัดแบ่งโซนเรียนรู้ นับจากความเป็นมาของมาเลเซียตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์จนถึงยุคการเข้ายึดครองของอังกฤษ โดยเริ่มที่ห้องอารยธรรมมลายูและการรวมตัวเป็นกลุ่มต่าง ๆ แล้วเป็นยุคการล่าอาณานิคมของโปรตุเกสในมะละกาจนถึงมาเลเซียได้รับอิสรภาพจากอังกฤษและแสดงถึงความเป็นชาติของมาเลเซียในปัจจุบัน เด็กชายพชร อุ่นเจริญ โรงเรียนอนุบาลระยอง จังหวัดระยอง สถาบันวิจัยป่าแห่งมาเลเซีย (FRIM) เป็นสถาบันวิจัยป่าแห่งมาเลเซียที่ใหญ่ที่สุดมีพื้นที่ทั้งหมด 544.4 แฮกเตอร์ ตั้งขึ้นเพื่อรักษาความสมดุลของป่า เพื่อปลูกฝังให้คนมาเลย์ รักป่าเห็นคุณค่าการพึ่งพาของมนุษย์กับสัตว์และพืชพันธุ์ จากเดิมที่เคยเป็นที่รกร้างมาเป็นป่าใหญ่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งมาจากการปลูกป่าตั้งแต่ พ.ศ. 2461 ภายในเป็นพิพิธภัณฑ์ ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติการก่อตั้งและการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ เด็กชายณภัทร รักความชอบ โรงเรียนสฤษดิเดช จังหวัดจันทบุรี เมืองราชการปุตราจายา (Putrajaya) เมืองนี้เกิดขึ้นได้ด้วยวิสัยทัศน์อันเฉียบคมของ ดร. มหาธีร์ โมฮาหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียที่ได้สร้างเมืองราชการใหม่ของประเทศมาเลเซีย […]

คณะยุวทูตความดีเยือนสาธารณรัฐอินโดนีเซีย

พิพิธภัณฑ์อังกะลุง  (Saung Angklung Udjo) อังกะลุงมีต้นกำเนิดจากอินโดนีเซีย เป็นเครื่องดนตรีที่ทำจากไม้ไผ่เป็นท่อน ๆ บรรเลงโดยใช้เข่ากระแทก กระบอกไม้ไผ่ จะเกิดเสียงดังตามที่เทียบกระบอกเสียงไว้ เป็นเสียงสูงหรือต่ำ ซึ่งมีทั้งหมด 5 เสียง พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ทำให้ได้เรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างอังกะลุงไทยกับอังกะลุงอินโดนีเซีย กล่าวคือ การเล่นอังกะลุงอินโดนีเซียจะใช้มือตี แต่ไทยจะใช้มือเขย่า และตัวโน๊ตไทยจะเป็น ด.ร.ม.ฟ.ซ.ล.ท.ด. แต่ของอินโดนีเซียจะเป็น 1 2 3 4 5 6 7 8 เด็กหญิงสุนิษา นุชวงศ์ โรงเรียนวัดไผ่สามเกาะ จังหวัดราชบุรี พิพิธภัณฑ์หุ่น จัดแสดงความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของประเทศอินโดนีเซีย รวมถึงตัวแสดงหุ่นที่นำโครงเรื่องที่มีความใกล้เคียงกับประเทศไทย แต่จะมีความแตกต่างในลักษณะหน้าตาและเครื่องแต่งกายของหุ่น เด็กชายกฤติพงศ์ หมื่นพันธ์ชู โรงเรียนอนุบาลวัดพิชัยสงคราม จังหวัดสมุทรปราการ สวนสัตว์เปิด (Taman Safari) ทำให้เข้าใจถึงแหล่งที่อยู่และการกินอาหารของสัตว์แต่ละชนิด ซึ่งมีความแตกต่างกันได้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งทรัพยากรป่าไม้ที่เขียวขจีครอบคลุมพื้นที่ Taman Safari และบริเวณใกล้เคียง ได้เรียนรู้วิถีชีวิตของมังกรคอมโมโด ซึ่งเป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศอินโดนีเซียและได้เรียนรู้การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ เด็กหญิงปฐมาวดี ศุภรัตน์ โรงเรียนบ้านลำแก่น จังหวัดพังงา […]

keyboard_arrow_up