พิพิธภัณฑ์การประชุม (Afro-Asianconference) สร้างขึ้นเพื่อต่อต้านอาณานิคมของทวีปแอฟริกาไม่ให้ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกและอีกหลายประเทศ อีกทั้งได้รู้จักคุณป้าคนไทยที่ทำหนังสือพจนานุกรม ไทย-อินโดนีเซีย ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับเมืองบันดุง และรู้ว่ารัชกาลที่ 5เสด็จประพาสอินโดนีเซียที่เกาะชวา 3 ครั้ง และได้ให้รูปปั้นช้างไว้ที่พิพิธภัณฑ์ช้างในกรุงจาการ์ตา ปัจจุบันยังคงตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ เด็กชายธนพัฒน์ สุดใจ โรงเรียนชุมชนบ้านไทรย้อย จังหวัดพิษณุโลก พิพิธภัณฑ์แสตมป์และเงินตรา เพราะแสดงถึงการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้งของประเทศอินโดนีเซีย มีการพัฒนาในหลายด้าน นับตั้งแต่รูปแบบของแสตมป์และเงินตราที่รูปร่าง และขนาดที่แตกต่างกันไป ในแต่ละยุคสมัยทั้งยังบอกเล่าถึงประวัติความเป็นมาและความเป็นอยู่ของชาวอินโดนีเซีย ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อย ๆ มาจนถึงเวลาปัจจุบัน เด็กหญิงเจษฎาภา โฮมคำจันทร์ โรงเรียนอนุบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น พิพิธภัณฑ์อังกะลุงและหนังตะลุง อังกะลุงของอินโดนีเซียเป็นต้นแบบอังกะลุงของไทย ซึ่งมีความแตกต่าง ในด้านของรูปร่าง เพราะไทยมี 3 ท่อน แต่ อินโดนีเซียมี 2 ท่อน อยู่ตรงกลาง และวิธีการเล่นก็ไม่เหมือนกัน สำหรับหนังตะลุง หนูได้เรียนรู้ว่าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต คือ หนังควาย จึงเรียกว่า วายังกูลิต ซึ่งในการแสดงจะมีการสอดแทรกข้อคิดเตือนใจและความรู้ ทั้งในเรื่องการแบ่งชนชั้น การดำรงชีวิต ทำให้หนูรู้สึกว่าวัฒนธรรมหลาย ๆ อย่าง ที่ประเทศไทยมีเหมือนประเทศอินโดนีเซีย เด็กหญิงเกศราพร […]