Skip to main content

ร้อยเรียงเรื่องราวความประทับใจจากการเรียนรู้นิทรรศการ “เมืองพอเพียง”

ผู้เข้าชม 296

ฐานพระทรงเป็นต้นแบบพลังความพอเพียง  หนูจะยึดหลักคำ สอน “ความพอเพียง” ของในหลวงรัชกาลที่ 9 เพราะถ้าเรารู้จักความพอเพียง ความพอเพียงนี้ ก็จะทำ ให้เรามีความสุข และจะนำ มาเป็นแนวทางปฏิบัติในชีวิตประจำวัน โดยอยู่อย่างพอเพียง กินอย่างพอเพียง และใช้จ่ายอย่างพอเพียง

เด็กหญิงกุลณัฏฐา กาญจนศิริโรจน์
โรงเรียนอนุบาลหนองคาย จังหวัดหนองคาย



ฐานต้นกล้าความดี ตามวิถีพอเพียง หนูจะยึดถือคำ สอนพ่อที่ว่า “หนักแน่นในสัจจะ พูดจริง ทำจริง” ด้วยการพูดจริง ทำจริง รู้จักคิดให้ดี ปฏิบัติให้ถูกต้อง คิดด้วยสติและรู้ตัวอยู่เสมอทุกขั้นตอนจึงจะสำเร็จ พร้อมทั้งได้รับความศรัทธาเชื่อถือและยกย่องสรรเสริญจากคนทุกฝ่าย

เด็กหญิงวรินยุพา วาชิซาวา
โรงเรียนอนุบาลวัดหนองขุนชาติ (อุทิศพิทยาคาร) จังหวัดอุทัยธานี



ฐานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10  หนูได้เรียนรู้พระราชประวัติ พระอัจฉริยภาพด้านการบินและการทหาร พระราชกรณียกิจดูแลทุกข์สุขประชาชน ด้วยการจัดโครงการจิตอาสา “เราทำ ความดี ด้วยหัวใจ” โดยให้หน่วยราชการในพระองค์ร่วมกับหน่วยราชการต่าง ๆ และประชาชนทุกหมู่เหล่าที่มีจิตอาสา บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน แก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชน และพระองค์ทรงเป็นแบบอย่างให้แก่หนูในเรื่องความกตัญญู ที่พระองค์ทรงแสดงออกต่อ สมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง และในหลวงรัชกาลที่ 9 และการที่ทรงนำคนไทยมาเข้าร่วมกิจกรรม Bike for Dad และ Bike for Mom หนูจะขอยึดถือพระองค์เป็นแบบอย่าง และจะตอบแทนพระคุณต่อพ่อแม่ เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อท่านและผู้มีพระคุณ

เด็กหญิงอรณัฐ เร้าสูงเนิน
โรงเรียนอนุบาลสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี



ฐานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นต้นแบบของการศึกษาเรียนรู้และการพัฒนาเยาวชน ภาพที่หนูได้เห็นอยู่ทุกครั้ง คือ เมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่าง ๆ มักจะเห็นพระองค์ถือสมุด ปากกา ซักถามผู้บรรยาย และจดบันทึกอยู่เสมอ ทั้งพระองค์ยังเป็นเจ้าฟ้านักอ่านและนักเขียน หนูจึงขอยึดถือพระองค์ท่านเป็นแบบอย่างด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจว่า หนูจะเป็นยุวทูตความดีที่มีความรับผิดชอบต่อตนเองและชุมชน มีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษา ซึ่งจะช่วยพัฒนาชุมชนของตนเอง และเมื่อได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ จะจดลงในสมุดเหมือนสมเด็จพระเทพ ฯ เพื่อจะไม่ลืมความรู้ที่ได้รับ

เด็กหญิงปรียาภรณ์ ภูเดช
โรงเรียนเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด



ฐานมูลนิธิยุวทูตความดี สืบสานพระราชปณิธานความพอเพียง หนูประทับใจมูลนิธิยุวทูตความดี ที่มุ่งสร้างเสริมให้เยาวชนไทย มีคุณธรรม คุณภาพ ผ่านโครงการและกิจกรรมที่หลากหลาย เน้นการปลูกจิตสำนึก ฝึกจิตอาสา และพัฒนาโลกทัศน์ มุ่งพัฒนาแนวคิด ด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการเยือนเพื่อสานสัมพันธ์สร้างมิตรไมตรีกับเยาวชนนานาชาติ โรงเรียนวัดบ้านแสลงคงของหนูก็เป็นโรงเรียนนำร่องโครงการยุวทูตความดีของจังหวัดบุรีรัมย์ ที่เข้าร่วมโครงการและกิจกรรมของมูลนิธิฯ มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2542 ซึ่งผู้บริหารโรงเรียน ครู และนักเรียน ได้ทำกิจกรรมร่วมปลูกจิตสำนึก ด้วยการเข้าค่ายอบรม “ศาสตร์พระราชา” ก่อเกื้อการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ จ. สกลนคร ฝึกจิตอาสา ด้วยการร่วมแรงร่วมใจทำสาธารณประโยชน์ และพัฒนาโลกทัศน์และสานสัมพันธ์กับเยาวชนนานาชาติ ที่ประเทศจีนและบรูไน ซึ่งหนูก็ได้รับเลือกให้ไปเยือนบรูไนด้วยเช่นกัน

เด็กหญิงณัฐกมล คงทันดี
โรงเรียนวัดบ้านแสลงคง จังหวัดบุรีรัมย์



ฐานครัวเรือนพอเพียง ฐานนี้สอนให้หนูใช้ชีวิตอย่างพอเพียงรู้จักประหยัด เรียบง่าย โดยสอนให้ทำ บันทึกรายรับ – รายจ่ายการใช้เงินเป็นและรู้จักการออมเงิน เพื่อจะได้มีเงินออมเอาไว้ใช้ยามฉุกเฉิน หรือเอาไว้ใช้ในยามต้องการสิ่งของใด ๆ เพราะถ้าเรารู้จักการออมเงิน เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้เงินเราก็เอาเงินออมไปใช้ได้ ไม่ต้องไปกู้ยืมเงินหรือยืมเงินคนอื่น ครอบครัวเราก็จะไม่เดือดร้อน และหนูยังได้รับแจกสมุดบัญชีพอเพียง จากฐานนี้อีกด้วย

เด็กหญิงปริมมาดา สุพันดี
โรงเรียนอนุบาลชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ



ผมมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยของเราได้เป็นประธานอาเซียน ในปี 2562 นี้ การเป็นประธานอาเซียนของไทยมีแนวคิดหลัก คือ ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน หรือ Advancing Partnership for Sustainability และการเป็นเจ้าภาพที่ดีนั้น เราจะต้องสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศ ส่งมอบรอยยิ้ม และมีน้ำใจให้ความช่วยเหลือตามกำลังความสามารถที่ทำได้

เด็กชายเตชิต เตชสุนทรกุล
โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์



ฐานโรงเรียนภูมิปัญญา หนูชื่นชมและชื่นชอบการศึกษานอกห้องเรียน ผ่านศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง 6 แห่ง ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยใช้หลักศึกษาปัญหาและแก้ไขตามขั้นตอน คำนึงถึงสภาพแวดล้อมทางภูมิสังคมของแต่ละท้องถิ่น อันเป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงมอบไว้ เพื่อสร้างไทยให้ยั่งยืน

เด็กหญิงเพชรภัสรา ด่านพิไลพร
โรงเรียนอนุบาลพิจิตร จังหวัดพิจิตร



หนูรู้สึกชื่นชอบการศึกษาในห้องเรียน จาก “ห้องเรียนไทย ห้องเรียนโลก” ที่ได้รวบรวมการเรียนการสอนของประเทศต่าง ๆ เข้าไว้ ทำให้หนูเห็นจุดเด่นของโรงเรียนของประเทศต่าง ๆ เช่น การศึกษาอินเดีย เขาจะสอนให้นักเรียนคิดอย่างเป็นระบบ และมีเหตุผล รักที่จะสงสัยตั้งคำถาม การศึกษาสิงคโปร์ จะสร้างเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ภายใต้วิสัยทัศน์ในการพัฒนาระบบการศึกษา Thinking School Learning Nation (TSLN) เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นนักคิด มีความรู้ที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับนวัตกรรมและความสามารถในการสร้างสรรค์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง และการศึกษาสวิตเซอร์แลนด์ มุ่งเน้นการศึกษานอกห้องเรียน เช่น เรียนรู้ผ่านพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน และความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน และกิจกรรมกีฬาเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการทางร่างกายที่ดี ซึ่งทำให้หนูเห็นว่าแต่ละประเทศมีจุดเด่นที่ส่งเสริมในรูปแบบที่ต่างกัน ซึ่งต่างก็มีประโยชน์แก่นักเรียนในของแต่ละประเทศเป็นอย่างมาก

เด็กหญิงณิชาภัทร แสนปัน
โรงเรียนสันป่าตอง (สุวรรณราษฎร์วิทยาคาร) จังหวัดเชียงใหม่



ฐานหลักธรรมบันดาลใจ หนูชื่นชอบฐานนี้โดยเฉพาะข้อคิด “เราพอเพียงไปเพื่ออะไร” ที่สอนให้เข้าใจว่า คนไทย 60 ล้านคน เปรียบเสมือนฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนประเทศและการขับเคลื่อนประเทศได้นั้น จะต้องใช้ความพอเพียง อันเป็นปรัชญาของการดำเนินงานของทุกสายอาชีพ และเป็นกลไกที่ดีที่สุดในการพัฒนาประเทศ ซึ่งทุกคนต้องมีความพอดีในหน้าที่ของตนเองไม่เห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ความพอเพียง เป็นสิ่งที่ทำให้เราไม่หยุดที่จะพัฒนาอยู่ตลอด และเมื่อใดที่คนเรามีรูปแบบการใช้ชีวิตแบบพอเพียง เราก็จะมีความสุขกับสิ่งที่เราทำ หากเรายึดมั่นในแก่นแท้ของคำ ว่าพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 แล้ว พวกเราคนไทยก็ได้อยู่บ้านที่เปี่ยมไปด้วยความสุขที่แสนพอดีนั่นเอง

เด็กหญิงธนชนก บัวผุด
โรงเรียนอนุบาลระยอง จังหวัดระยอง



ฐานสวนไร่นา สุขยั่งยืน หนูได้เรียนรู้วิถีเกษตรที่เปี่ยมล้นไปด้วยความสุขจากความพอเพียง เช่น การปลูกพืช เลี้ยงปลา และการทำการเกษตรต่าง ๆ เช่นการปลูกข้าว ปลูกอ้อย และพืชผักสวนครัว เราไม่จำเป็นต้องซื้อ เราสามารถปลูกเองนำมารับประทานได้ และแบ่งปันแก่ผู้อื่นได้ เป็นการพึ่งตนเองในการใช้จ่ายอย่างประหยัด และเป็นการปฏิบัติตามคำพ่อสอนในเรื่องความพอเพียง ในการเรียนรู้ฐานสวนไร่นาสุขยั่งยืน หนูยังได้รับแจกต้นกล้าพริก กลับไปปลูกที่บ้านด้วย

เด็กหญิงปาลิดา พึ่งสถิต
โรงเรียนอนุบาลด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี



ฐานตลาดนวัตกรรม  ผมชื่นชอบฐานนี้ เพราะได้ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์และนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อให้ประเทศไทยก้าวไปอยู่ในยุค 4.0 และจะนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดความรู้ด้านเทคโนโลยี ฐานนี้ได้นำเสนอกิจการ ที่นำนวัตกรรมมาใช้อย่างชาญฉลาด (Smart Innovative Shop) เพื่อขับเคลื่อนเยาวชนไทยให้พร้อมก้าวสู่ประเทศไทยยุค 4.0 และการนำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือ Sufficiency Economy Philosophy (SEP) ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่เน้นการพัฒนาบนแนวคิดความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน พร้อมกับขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยสอดคล้องกับ SDGs หรือ Sustainable Development Goals คือ เป้าหมายในการพัฒนาประชาคมโลก โดยยึดหลักการพัฒนาควบคู่กับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม (Environment and Development) ซึ่งสหประชาชาติ หรือ UN กำหนดทิศทางการพัฒนาของประชาคมโลกใน 11 ปีข้างหน้า

เด็กชายภูธน มณีกอบกุลวงศ์
โรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม



หนูชอบโครงการขยะหมุนเวียน ของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCG) ที่ได้ส่งเสริมให้มีการแยกขยะลงถัง 6 ประเภท เพื่อเป้าหมายการจัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นั่นคือ การทิ้งขยะไปที่ปลายทางให้น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย ทั้งขยะที่สามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้ได้ จะถูกนำมาแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าหรือสร้างประโยชน์ได้อีก รวมทั้งยุวทูตความดีกับภารกิจกู้โลก เรียนรู้การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้แนวปฏิบัติของเศรษฐกิจหมุนเวียน ด้วยการสร้างขยะให้น้อยลงใช้ของให้คุ้มค่า แยกขยะเพื่อเอากลับไปหมุนเวียนใช้ใหม่

เด็กหญิงพิรัตน์ดา เจริญวงศ์
โรงเรียนโคกสำ โรง จังหวัดลพบุรี



หนูประทับใจ โครงการพลังงานสะอาด (Green Energy) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คือ กฟผ. ได้นำพลังงานที่ได้จากธรรมชาติ อาทิ แสงแดด ลม น้ำ รวมถึงพลังงานชีวมวล มาใช้ควบคู่กับแหล่งพลังงานเดิม คือ เชื้อเพลิงจากซากฟอสซิล ส่งผลให้ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และสามารถนำมาใช้ได้อย่างไม่มีวันหมด อันจะทำให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนในการพัฒนาพลังงานของประเทศ

เด็กหญิงกุลกนก ทรัพย์ขำ
โรงเรียนวัดป้อมโชติการาม จังหวัดสมุทรสงคราม

keyboard_arrow_up