Skip to main content

Knowledge of the day

World Economic Forum

เป็นที่ประชุมเศรษฐกิจของโลกทั้งภาครัฐ เอกชน เเละองค์กรภาคประชาสังคม จัดการประชุมทั้งระดับโลกและระดับภูมิภาคเป็นประจำทุปี กิจกรรมสำคัญประจำปีได้แก่ การประชุมประจำปีที่กรุงดาวอส (มกราคม หรือ กุมภาพันธ์)

CICA (Conference on Interaction on Confidence-Building Measures in Asia)

การประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฎิสัมพันธ์และมาตรการการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย CICA เป็นกรอบประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฎิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาค

Declaration หรือปฏิญญา

มีความหมาย 3 อย่างคือ (1) ความตกลงระหว่างประเทศซึ่งมีลักษณะผูกพัน (2) ปฏิญญาฝ่ายเดียว ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่แก่ประเทศอื่น (3) ปฏิญญาซึ่งรัฐหนึ่งแถลงให้รัฐอื่นทราบความเห็นและเจตนาของตนในเรื่องบางเรื่อง

Commonwealth of Nations เครือจักรภพแห่งประชาชาติ หรือ เครือจักภพ

องค์กรระหว่างประเทศในระดับรัฐบาล ประกอบด้วย 52 ชาติสมาชิกซึ่งส่วนใหญ่เคยเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษ โดยสมาชิกไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมาย มีเพียงหลักประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน เสรีในการแสดงออก ที่สมาชิกให้ความเคารพและยึดถือปฏิบัติ

The International Criminal Police Organization (INTERPOL)

องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ – องค์การตำรวจสากล เป็นองค์การที่เกิดจากความพยายามร่วมมือกันในทางระหว่างประเทศเกี่ยวกับกิจการตำรวจ เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือทุกองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีภารกิจในการป้องกันหรือว่าปราบปรามอาชญากรรมระหว่างประเทศ

Millennium Development Goals (MDGs)

เป็นเป้าหมายการพัฒนาระหว่างประเทศแปดข้อซึ่งสถาปนาระหว่างการประชุมสุดยอดสหัสวรรษของสหประชาชาติในปี 2543 หลังรับปฏิญญาสหัสวรรษสหประชาชาติ รัฐสมาชิกสหประชาชาติทั้ง 189 ประเทศในขณะนั้น (ปัจจุบันมี 193 ประเทศ) ให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษดังต่อไปนี้ภายในปี 2558

The United Nations Economic and Social Council (ECOSOC)

คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ เป็นหนึ่งใน 6 เสาหลักของสหประชาชาติ ประกอบด้วยตัวแทนจาก 54 ประเทศ ในแต่ละปี 18 ประเทศสมาชิกจะได้รับการเลือกตั้งโดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ โดยมีวาระ 3 ปี

Sanction การคว่ำบาตร

มาตรการลงโทษที่คณะมนตรีความมั่นคงใช้ต่อประเทศสมาชิกที่มีการกระทำละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ รวมทั้งเป็นภัยต่อความมั่นคงต่อสันติภาพและความมั่นระหว่างประเทศ หรือแม้กระทั่งการห้ามสมาชิกติดต่อในด้านต่าง ๆ (เช่น ด้านการค้า การคมนาคมขนส่ง)

Ministry of Foreign Affairs หรือ กระทรวงการต่างประเทศ

ในแต่ละประเทศอาจจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป อาทิ Department of State ของสหรัฐอเมริกา Department of Foreign Affairs and Trade (DFAT) ของออสเตรเลีย และ Ministry of Foreign Affairs and Trade (MFAT) ของนิวซีแลนด์ ส่วนประเทศไทยมีเชื่อเรียกว่า Ministry of Foreign Affairs Kingdom of Thailand

Joint Working Group หรือคณะทำงานร่วม

กลุ่มบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมทั้งสองฝ่าย (หรือมากกว่า) เพื่อพิจารณาหรือดำเนินการในประเด็นต่าง ๆ เพื่อนำผลศึกษาหรือข้อเสนอแนะให้กับที่ประชุมมาเพื่อพิจารณาในโอกาสต่อไป

Joint Development Area

พื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและมาเลเซีย ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการแก้ไขปัญหาเขตแดนทางทะเลของทั้งสองประเทศ มีพื้นที่ประมาณ 7,250 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกัน โดยเน้นการแสวงหาทรัพยากรปิโตรเลียมเป็นหลัก

Goodwill Representative ผู้แทนสันถวไมตรี

การแต่งตั้งบุคคลที่มีพื้นฐานความรู้ ความประพฤติ และบุคลิกที่เหมาะสมในการเป็นผู้แทนของประเทศให้ไปเยือนต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ สร้างอัธยาศัยไมตรี และผูกมิตรกับประเทศอื่น

United Nations (UN)

หรือองค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพโลก ส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่าง ๆ เข่น การพัฒนาเศรษฐกิจ ความมั่นคง สิทธิมนุษยชน และประเด็นอื่น ๆ

Generalized System of Preferences (GSP)

หรือ ระบบการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรทั่วไป มีที่มาจากการประชุมว่าด้วยการค้าและการพัฒนาขององค์การสหประชาชาติ (UNCTAD) เมื่อปี 2510 เพื่อเปิดโอกาสให้ประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถส่งสินค้าไปขายยังประเทศพัฒนาแล้ว โดยได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษี

Diplomatic Privileges and Immunities

เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เอกสิทธิ์ทางการทูต (Privileges) คือ สิทธิของผู้ให้หรือเกิดขึ้นทางด้านผู้ให้ ที่จะให้สิทธิพิเศษในรูปผลประโยชน์หรือผลปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ อาจเป็นการยกเว้นให้ไม่ต้องปฏิบัติ หรือ ไม่ต้องมีภาระอย่างใดอย่างหนึ่ง ความคุ้มกันทางการทูต (Immunities) คือ สิทธิของผู้รับหรือเกิดขึ้นทางด้านผู้รับ ผู้ให้จำจะต้องให้ความคุ้มกันแก่ผู้ได้รับ เพราะผู้ได้รับมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มกันนั้นอยู่ในตัวเอง ผู้ให้จะไม่ให้ไม่ได้ ความคุ้มกันออกมาในรูปของการยกเว้นให้ผู้ได้รับปลอดหรือหรือหลุดพ้นจากอำนาจหรือภาระหรือภัยอย่างใดอย่างหนึ่ง

keyboard_arrow_up