Skip to main content

เล่าเรื่อง-เรียนรู้

ปี 2556

คณะยุวทูตความดีเยือนสาธารณรัฐอินโดนีเซีย

พิพิธภัณฑ์การประชุม (Afro-Asianconference) สร้างขึ้นเพื่อต่อต้านอาณานิคมของทวีปแอฟริกาไม่ให้ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกและอีกหลายประเทศ อีกทั้งได้รู้จักคุณป้าคนไทยที่ทำหนังสือพจนานุกรม ไทย-อินโดนีเซีย ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับเมืองบันดุง และรู้ว่ารัชกาลที่ 5เสด็จประพาสอินโดนีเซียที่เกาะชวา 3 ครั้ง และได้ให้รูปปั้นช้างไว้ที่พิพิธภัณฑ์ช้างในกรุงจาการ์ตา ปัจจุบันยังคงตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ เด็กชายธนพัฒน์ สุดใจ โรงเรียนชุมชนบ้านไทรย้อย จังหวัดพิษณุโลก พิพิธภัณฑ์แสตมป์และเงินตรา เพราะแสดงถึงการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้งของประเทศอินโดนีเซีย มีการพัฒนาในหลายด้าน นับตั้งแต่รูปแบบของแสตมป์และเงินตราที่รูปร่าง และขนาดที่แตกต่างกันไป ในแต่ละยุคสมัยทั้งยังบอกเล่าถึงประวัติความเป็นมาและความเป็นอยู่ของชาวอินโดนีเซีย ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อย ๆ มาจนถึงเวลาปัจจุบัน เด็กหญิงเจษฎาภา โฮมคำจันทร์ โรงเรียนอนุบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น พิพิธภัณฑ์อังกะลุงและหนังตะลุง อังกะลุงของอินโดนีเซียเป็นต้นแบบอังกะลุงของไทย ซึ่งมีความแตกต่าง ในด้านของรูปร่าง เพราะไทยมี 3 ท่อน แต่ อินโดนีเซียมี 2 ท่อน อยู่ตรงกลาง และวิธีการเล่นก็ไม่เหมือนกัน สำหรับหนังตะลุง หนูได้เรียนรู้ว่าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต คือ หนังควาย จึงเรียกว่า วายังกูลิต ซึ่งในการแสดงจะมีการสอดแทรกข้อคิดเตือนใจและความรู้ ทั้งในเรื่องการแบ่งชนชั้น การดำรงชีวิต ทำให้หนูรู้สึกว่าวัฒนธรรมหลาย ๆ อย่าง ที่ประเทศไทยมีเหมือนประเทศอินโดนีเซีย เด็กหญิงเกศราพร […]

คณะยุวทูตความดีเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ประตูไซ หรือประตูชัย ก่อสร้างขึ้นในระหว่าง พ.ศ. 2500 – พ.ศ. 2511 เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงประชาชนชาวลาวผู้เสียสละชีวิตในสงครามก่อนหน้าการปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์ สถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลมาจากประตูชัยในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แต่ยังคงเอกลักษณ์ของลาวอย่างชัดเจน เช่น พุทธศิลป์ลาว ภาพมหากาพย์รามายณะ แบบปูนปั้นใต้ซุ้มโค้ง เป็นต้น เด็กหญิงนพมาศ ก้างออนตา โรงเรียนบ้านแม่จัน (เชียงรายประชานุสาสน์) จังหวัดเชียงราย พระธาตุศรีโคตรบูร เป็นพระธาตุเมืองเก่าที่เก็บอัฐิธาตุของพระยาศรีโคตรตะบอง ประวัติการสร้างพระธาตุชาวบ้านเชื่อกันว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้านันทะแสนแห่งเมืองศรีโคตรบูร ต่อมาได้รับการบูรณะครั้งแรกในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ภายในวิหารมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ซึ่งเจ้าอนุวงศ์เป็นผู้สร้างพระธาตุแห่งนี้มีประวัติการสร้างเกี่ยวเนื่องกับพระธาตุพนมของไทย ซึ่งพระธาตุทั้งสองมีลักษณะคล้ายกัน ประดิษฐานอยู่ริมแม่น้ำโขงบ่งบอกถึงวิถีแห่งชีวิตที่มีวัฒนธรรมที่เหมือนกันของชาวไทยและชาวลาว เด็กหญิงอิสรา บุญชู โรงเรียนบ้านดอน (ศรีเสริมกสิกร) จังหวัดน่าน พระธาตุอิงฮัง ตามประวัติกล่าวว่าสร้างครั้งแรกสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูร โดยพระเจ้าสุมินราช พระธาตุอิงฮัง มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม สูง 25 เมตร บรรจุพระธาตุไว้ที่ฐานเจดีย์  จึงมีการห้ามสตรีเข้าไปเขตด้านใน คำว่า อิงฮัง มาจาก พิงรัง หรือพิงต้นรัง ส่วนการบูชาพระธาตุตามแบบของลาวนั้น จะทำชุดบูชาเป็นเครื่องบายศรี (ซื้อได้ที่บริเวณหน้าวัด) วัดอิงฮังมีธรรมเนียมปฏิบัติแตกต่างจากวัดทั่วไป กล่าวคือ […]

คณะยุวทูตความดีเยือนสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา

ประเทศศรีลังกา มีศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก จึงเป็นแหล่งความรู้ของผู้ต้องการศึกษาในเรื่องพระพุทธศาสนาและชาวศรีลังกาส่วนใหญ่ก็นับถือศาสนาพุทธ ยิ่งเป็นการเพิ่มพูนและเสริมความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วให้มากขึ้น เด็กหญิงอภัสรา แสนกล้า โรงเรียนบ้านโคกทุ่งน้อย จังหวัดหนองบัวลำภู เมืองแคนดี้  เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับพุทธศาสนิกชนในศรีลังกาและทั่วโลก เพราะเป็นที่ตั้งของวัดพระเขี้ยวแก้วซึ่งประดิษฐานพระทันตธาตุหรือพระเขี้ยวแก้ว ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของศรีลังกาและทุกปีในเดือนสิงหาคมจะมีพิธีกรรมยิ่งใหญ่สมโภชพระเขี้ยวแก้ว จะมีริ้วขบวนยาวเหยียดนำด้วยช้างที่ตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงาม คณะเราได้เดินขึ้นบันไดไปกราบพระเขี้ยวแก้วที่ประดิษฐานอยู่โดยมีโกศ 7 ชั้นหุ้มไว้ ซึ่งทุก 4 ปี จะมีการเปิดพระโกศเพื่อตรวจดูความเรียบร้อยซึ่งปกติแล้วจะไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าไปกราบนมัสการใกล้ชิดขนาดนี้ เด็กหญิงรัตนาวดี ทองนาค โรงเรียนอนุบาลด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เมือง Galle ประกาศเป็นเมืองมรดกโลกโดยยูเนสโก บ้านเรือนของประชาชนเป็นบ้านเก่าสมัยที่ศรีลังกาเป็นเมืองขึ้นของชาวดัช เมือง Galle เป็นเมืองท่าที่สำคัญในการเดินเรือ มีป้อมปราการป้องกันบ้านเรือนจากลมพายุจากมหาสมุทรและภัยจากสึนามิ สิ่งที่ประทับใจที่มีต่อเมือง Galle ก็คือ ความสวยงามของการเป็นเมืองตากอากาศ เนื่องจากเมืองกอลล์มีชายหาดที่สวยงามและสะอาดตาไม่มีขยะให้เห็นตามชายหาด และน้ำทะเลเป็นสีฟ้า เด็กหญิงธีรนุช จิตตะระ โรงเรียนอนุบาลพิจิตร จังหวัดพิจิตร วัดศรีปรมนันทะราชมหาวิหาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวางศิลาฤกษ์ก่อสร้าง “จุฬาลงกรณ์ธรรมศาลา” และความประทับใจคือ ได้เห็นเยาวชนของศรีลังกานับถือศาสนาพุทธ และยึดมั่นศาสนาพุทธเหมือนคนไทย เด็กหญิงวรรณวิสา ล้ำเลิศ โรงเรียนชุมชนวัดกลางท่าข้าม จังหวัดสิงห์บุรี วัดคงคาราม  ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะแบบลังกาสวยงามมาก […]

คณะยุวทูตความดีเยือนสาธารณรัฐอินโดนีเซีย

สำนักงานเลขาฐิการอาเซียน ภายในมีห้องแกลลอรี่ (ASEAN Gallery) ที่แสดงรูปภาพที่แต่ละประเทศนำมามอบให้ ห้องแสดงของที่ได้รับมาจากประเทศต่าง ๆ ห้องสมุด Library ที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ เอาไว้สำหรับการสืบค้นต่าง ๆ และทีน่าประทับใจมากที่สุดก็คือห้องประชุมของสำนักงานเลขาธิการอาเซียน เด็กหญิงศุภิสรา สถิตธำมรงค์ โรงเรียนสฤษดิเดช จังหวัดจันทบุรี เมืองจำลอง Taman Mini Indonesia Indah เป็นสถานที่ที่รวบรวมบ้านเรือนของชนเผ่าต่าง ๆ ในประเทศอินโดนีเซีย ทำให้เราได้รู้วัฒนธรรม ประเพณีของชาวอินโดนีเซีย เช่น อินโดนีเซียจะนับถือศาสนาอิสลาม และมีบ้านเรือนที่แตกต่างกันไป บางบ้านเรือนจะก่อสร้างด้วยไม้ บางบ้านเรือนจะก่อสร้างด้วยปูนซึ่งแต่ละชนเผ่าจะสร้างบ้านแตกต่างกัน เนื่องจากอิทธิพลทางศาสนาหรือความเชื่อ ซึ่งจะมาจากประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่มีแตกต่างกันไป เด็กหญิงณัชชา กลิ่นมาลัย โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย จังหวัดเพชรบุรี สวนสัตว์เปิด Taman Safari  มีพื้นที่กว้างที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศูนย์กลางของการอนุรักษ์สายพันธุ์สัตว์ที่หายากและมีเฉพาะในอินโดนีเซีย เช่น มังกรโคโมโด สัตว์ทั้งหมดอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ไม่ได้ถูกขังในกรง เด็กชายชาญสวัสดิ์ แสงทอง โรงเรียนอนุบาลทุ่งเสลี่ยม (บ้านเหมืองนา) จังหวัดสุโขทัย

คณะยุวทูตความดีเยือนมาเลเซีย

ปีนังฮิลล์  หรือที่ภาษามาเลย์ เรียกว่า บูกิต เบนดารา (Bukit Bemdara) มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 830 เมตร และถือว่าเป็นจุดสูงสุดของเกาะปีนังซึ่ งจะสามารถมองเห็นบ้านเมืองของปีนังทั้งเกาะ และได้พบกับธรรมชาติที่สมบูรณ์ เด็กชายเจนวิทย์ ปฏิมินทร์ โรงเรียนคุระบุรี จังหวัดพังงา การบังคับใช้กฎหมายของประเทศมาเลเซีย ทำให้บ้านเมืองมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขเพราะผู้คนในประเทศนี้ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการปฏิบัติตามกฎหมาย เด็กหญิงสัตตบงกช อารีรัตน์ โรงเรียนอนุบาลยะลา จังหวัดยะลา การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมทางสัญชาติ เชื้อชาติและศาสนาเพราะคนในชาติอยู่ร่วมกันด้วยความสงบเรียบร้อย รักใคร่กลมเกลียวของคนในชาติ โดยสังเกตจากนักเรียนที่มีทั้งนักเรียนชาวจีนและชาวมาเลเซีย ที่ผมได้ไปเยี่ยมชมทุกคนยิ้มแย้มแจ่มใส และให้การต้อนรับเป็นอย่างดี โดยเฉพาะที่ St.George Girl School ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมอันดับ 1 ของรัฐปีนังซึ่งผมได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากพี่ ๆ เสมือนผมเป็นสมาชิกคนหนึ่งของโรงเรียนแห่งนี้ เด็กชายธนภัทร คมขำ โรงเรียนอนุบาลสตูล จังหวัดสตูล ความสะอาดเรียบร้อยของปีนัง บ้านเมืองมีการวางผังเป็นระเบียบสมเป็นเมืองสีเขียว ต้นไม้ปลูกเป็นแถวตกแต่งอย่างสวยงาม ไม่มีขยะเกลื่อนกลาดเพราะคนเขามีระเบียบวินัยทิ้งขยะลงในถัง เด็กหญิงกัสมี เจ๊ะนาแว โรงเรียนสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ความสัมพันธ์ไทยมาเลเซีย มีพื้นฐานบนความพึงพอใจในมิตรภาพที่ชิดใกล้ไทยและมาเลเซียเป็นสมาชิกก่อตั้งอาเซียน การที่ทั้งสองประเทศผ่านช่วงเวลาที่ดีนี้มาด้วยกัน ทั้งสองประเทศจึงมากกว่าเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนร่วมกัน […]

keyboard_arrow_up