Skip to main content

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการเหย้า-เยือน เพื่อพลังแผ่นดิน ปี 2556

27 - 28 กุมภาพันธ์ 2556
ผู้เข้าชม 32,831

มูลนิธิยุวทูตความดี ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการเหย้า-เยือน เพื่อพลังแผ่นดิน ให้กับโรงเรียนในเครือข่ายมูลนิธิฯ จำนวน 40 โรงเรียน จาก 10 จังหวัด ทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 27 – 28 กุมภาพันธ์ 2556 ที่โรงแรมเจริญธานี จ.ขอนแก่น เพื่อระดมสมองและขยายโลกทัศน์เกี่ยวกับแนวทางการวางแผนกลยุทธ์ ในการดำเนินกิจกรรมร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุดในการสร้างเยาวชนยุวทูตที่ดีในอนาคต ตามเป้าหมายของโครงการเหย้า-เยือน เพื่อพลังแผ่นดิน

เอกอัครราชทูต ดอน ปรมัตถ์วินัย ได้กล่าวเปิดการสัมมนา ให้ความสำคัญกับการสร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่ มีจิตสาธารณะ สามัคคีผูกพัน ลดความขัดแย้ง ทำให้คำว่า “พลังของแผ่นดิน” เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น โดยการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะขยายโลกทัศน์ผ่านการเยี่ยมเยือน แปลกเปลี่ยนภูมิปัญญาและวิถีชุมชน ของแต่ละพื้นที่ เพื่อเสริมสร้าง ความรู้ ที่จะเป็นภูมิคุ้มกันให้เยาวชนยุวทูต ยึดมั่นในความดี ร่วมสร้างสรรค์พัฒนาชุมชนและสังคม ให้มีคุณภาพอย่างยิ่งยืน บนพื้นฐานมิตรภาพที่สามัคคีปรองดอง ระหว่างเยาวชนไทยด้วยกัน

 ในการสัมมนาครั้งนี้ การเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจ ให้กับผู้อำนวยการโรงเรียน และครูจำนวน 80 คน ด้วยการบรรยายพิเศษจากผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการศึกษา ได้แก่ ดร. เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และดร.ประชาสรรค์ แสนภักดี อาจารย์ประจำวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

การจัดการเสวนา “ความต่อเนื่องที่ยั่งยืน ของโครงการเหย้า-เยือน เพื่อพลังแผ่นดิน” โดย ผอ.จันทร์ทิพา ภู่ตระกูล ผู้อำนวยการมูลนิธิฯ นายประภาส จันทหาร อดีตกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ ดร.แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย ผู้ทรงคุณวุฒิ และดร.สมพร สามทองกล่ำ นักวิชาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การจัดการเสวนาในการสัมมนาการได้มีการแบ่งกลุ่มตามความพ้องกันในเชิงภูมิศาสตร์ เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของพื้นที่ วางแผนความพร้อมและการระดมความร่วมมือสนับสนุนจากชุมชน และการแบ่งกลุ่มตามคู่การเหย้า – เยือน เพื่อร่วมกันจัดทำแผนงานสร้างกิจกรรมเรียน เสริมสร้างจิตสำนึก จิตอาสา ความรู้รักสามัคคี ความภูมิใจในวิถีท้องถิ่น และคนดีของชุมชน โดยแบ่งเป็น 5 คู่การเหย้า-เยือน ได้แก่ ขอนแก่น – กระบี่ เลย-ชลบุรี ชัยภูมิ-ประจวบคีรีขันธ์ น่าน-สุรินทร์ และ สุพรรณบุรี-นครศรีธรรมราช

การจัดการเสวนาการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ส่งเสริมให้ผู้บริหารโรงเรียน และครู มีส่วนร่วมในการคิด และวางแผนงานการดำเนินโครงการ เหย้า – เยือน เพื่อพลังแผ่นดิน อย่างเต็มกำลัง ด้วยแผนระดมความร่วมมือสนับสนุนจากภาคส่วนอื่น ๆ ในชุมชน กลุ่มโรงเรียนที่เข้าร่วมสัมมนา มีแนวคิดจะดำเนินโครงการเหย้า – เยือน ให้ต่อเนื่องในปีต่อ ๆ ไป โดยจะขยายผลไปยังโรงเรียนภาคีอื่น ๆ ที่อยู่ในเครือข่ายมูลนิธิฯ ในจังหวัดของตนเพื่อเป็นการรวมพลังความร่วมมือ ที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับโครงการดังกล่าว เพื่อเป็นการเสริมสร้างพลังสามัคคี และเพิ่มพูนโลกทัศน์ให้กับเยาวชนยุวทูต โดยจะได้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อท้องถิ่นในพื้นที่ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในวงกว้าง


โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการเยาวชนคนดี รู้หน้าที่ รู้คุณแผ่นดิน ปี 2566

 มูลนิธิยุวทูตความดี กระทรวงการต่างประเทศ จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “โครงการเยาวชนคนดี รู้หน้าที่ รู้คุณแผ่นดิน ปี 2566” ระหว่างวันที่ 20 – 23 ธันวาคม 2566 ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ โดยมี ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบโครงการฯ ทั้งสิ้น 142 คน จาก 72 จังหวัด เข้าร่วม โดยมีทั้ง โรงเรียนเล็ก (ขนาดนักเรียน 137 คน) ถึง โรงเรียนใหญ่ (ขนาดนักเรียน 4,110 คน) รวมมีนักเรียนในความกำกับดูแลจำนวน 112,587 คน   การสัมมนาฯ มีจุดมุ่งหมายเพื่อบูรณาการความร่วมมือกับผู้บริหารและครูโรงเรียนในเครือข่ายมูลนิธิฯ ในการขับเคลื่อนโครงการเสริมสร้างยุวทูตความดี ก้าวสู่สังคมการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่อย่างสร้างสรรค์ ให้เยาวชนมีบทบาท เชิงสร้างสรรค์ ในการมีส่วนร่วมนำการพัฒนาอย่างยั่งยืนแก่ชุมชน สังคม และประเทศชาติ การสัมมนาฯ จึงเป็นโอกาสให้คณะผู้บริหาร คณะครู ได้แลกเปลี่ยนแนวคิดและแนวปฏิบัติในการดำเนินโครงการฯ อย่างสร้างสรรค์และบรรลุผล  ในการนี้ นายดอน ปรมัตถ์วินัย ประธานก่อตั้งยุวทูตความดี […]

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการเสริมสร้างต้นกล้าความดี ตามวิถีพอเพียง ปี 2561

มีผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบโครงการฯ เข้าร่วมทั้งสิ้น 132 คน จาก 67 โรงเรียน ใน 67 จังหวัด

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการเหย้า-เยือนเพื่อพลังแผ่นดิน ปี 2557

เพื่อระดมสมองและบูรณาการความร่วมมือ ในเชิงร่วมคิดร่วมทำของผู้บริหารและครู ที่จะส่งเสริมเยาวชนให้เป็นพลังสำคัญของแผ่นดิน ด้วยการใช้หลักรู้รัก-สามัคคี กำหนดแผนงานเหย้า-เยือนระหว่าง 5 คู่จังหวัด โดยในแต่ละจังหวัดจะประกอบด้วย 1 โรงเรียนหลัก และ 3 โรงเรียนภาคี

keyboard_arrow_up