Skip to main content

ความยั่งยืนของโครงการเหย้า-เยือนเพื่อพลังแผ่นดิน

7 - 9 พฤศจิกายน 2557
ผู้เข้าชม 19,410

โดย ผอ.คณิต ธัญญะภูมิ
โรงเรียนสุนทรวัฒนา จังหวัดชัยภูมิ


ผมได้รับการประสานงาน ให้มาสรุปบทเรียน เพื่อที่จะเป็นส่วนประกอบหนึ่งในการตัดสินใจการดำเนินการของรุ่นต่อไป เพราะฉะนั้นผมจะขออนุญาติเล่าถึงสิ่งตนเองได้ปฏิบัติเมื่อปีที่แล้วให้ท่านที่เคารพได้รับฟังโดยสังเขป

โดยก่อนอื่นผมขอประมวลการประเมินผลการดำเนินกิจกรรม ของนักเรียนและครูของโรงเรียนผม คือ โรงเรียนชัยภูมิและโรงเรียนในเครือข่าย กับโรงเรียนหลักและโรงเรียนเครือข่ายจากจังหวัดประจวบฯ ผ่านแบบประเมินและข้อเสนอแนะ ดังนี้

  • ความคิดเห็นของเด็กคนที่ 1 “รู้สึกประทับใจที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมเรียนรู้กิจกรรมเหย้า – เยือนถ้าได้มีโอกาสก็ประสงค์จะเข้าร่วมกิจกรรมอีก”
  • ความคิดเห็นของเด็กคนที่ 2 “ได้รู้จักโครงการเหย้า – เยือนเพื่อพลังแผ่นดิน ได้ไปศึกษาหาความรู้ในที่ต่างๆ และได้รู้จักเพื่อนเพิ่มมากขึ้น”
  • ข้อเสนอแนะของครูคนหนึ่ง “รู้สึกประทับใจในการต้อนรับตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้ายจากชัยภูมิ หากมีโอกาสจะกลับมาเยือนชัยภูมิอีก”
  • สิ่งนี้สะท้อนถึงความประทับใจของครูและนักเรียนต่อโครงการ และสำหรับโรงเรียนนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนจะเริ่มทำสิ่งใด คือ วัตถุประสงค์และหลักการที่สำคัญ ซึ่งสรุปได้ว่า
  1. วัตถุประสงค์หลักนั้น ต้องเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้เกิดทักษะที่สำคัญ ได้แก่ ทักษะการเรียนรู้ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะความร่วมมือ ทักษะการสื่อสาร และทักษะทางอาชีพ เมื่อเรามาจากต่างถิ่นต่างแดน ดังนั้น หลักการที่สำคัญในการจัดกิจกรรมของเราคือต้อง “Share and Learn” เพื่อให้เกิดประโยชน์ สั่งสมให้มีจิตสำนึกและจิตสาธารณะ และช่วยในการพัฒนาโลกทัศน์ของนักเรียน

  2. ต้องเสนอภาพของจังหวัด ไม่ใช่แค่ภาพของโรงเรียนเพียงอย่างเดียว เพราะตนเชื่อว่า ผู้ที่มาเยือนคือจังหวัด ไม่ใช่ตัวบุคคล ดังนั้น จุดเน้นของเราในการทำให้เกิดภาพการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับจังหวัด คือการสร้างเจ้าภาพร่วมกันในระดับจังหวัดที่ผ่านมา ตนได้นำโครงการที่ร่วมทำกับเครือข่ายไปนำเรียนท่านผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ท่านนายกเทศมนตรีและนายกองค์การบริหารจังหวัดชัยภูมิ เพื่อขอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ในกรณีของการที่มีแขกบ้านแขกเมืองที่สำคัญมาเยือนและแนวทางการศึกษาของตน ผู้ใหญ่เห็นด้วยอย่างยิ่งสำหรับแนวทางการศึกษา ท้ายที่สุดแล้ว ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านนายกเทศมนตรี และท่านนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดก็ได้ให้งบประมาณสนับสนุนมา และกล่าวว่า พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือในส่วนอื่นด้วย เหล่านี้คือประเด็นที่เป็นหัวใจหลักของการวางแผน ในความคิดของผมซึ่งหมายถึงการสร้างเจ้าภาพร่วมกันของทั้งจังหวัดนั่นเอง

  3. การระดมทรัพยากร ในลักษณะ “ภูมิสังคม” นั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเราอาจสามารถใช้มันเป็นแหล่งเรียนรู้ที่จะนำเสนอบทเรียน ทำให้เกิดจิตอาสา ทำให้รักบ้านเมือง และทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของเด็กให้พร้อมจะเป็นพลโลกที่มีศักยภาพได้ในอนาคต โดยเรามีการระดมทรัพยากรแล้วมาคุยกันตลอด ดังนั้น สำหรับชัยภูมิ เรื่องเงินงบประมาณจึงเป็นเรื่องที่มีปัญหาน้อยที่สุด

  1. เนื้อหากิจกรรมและวิธีการเรียนรู้ เราคำนึงถึงหลักการที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน หรือ การแบ่งปันและเรียนรู้ (Share and Learn) ร่วมกันเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น กิจกรรมที่เราสร้างขึ้นมี 4 กิจกรรมด้วยกัน 

    – กิจกรรมด้านประวัติศาสตร์
    – กิจกรรมวิถีชุมชน
    – กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์
    – กิจกรรมการเรียนรู้เรื่องคนดีที่เป็นต้นแบบของชุมชน
โดยแต่ละกิจกรรมมีหลักการที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้
  • มีความโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดที่สามารถนำมาถ่ายทอดได้
  • นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ เพราะเราเชื่อว่า ความทรงจำ อาจจำแล้วก็ลืม แต่การที่นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติทุกอย่างจะอยู่ในความทรงจำ
  • สร้างโอกาสให้เด็กได้นำเสนอในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น เด็กสามารถเสนอคำถาม สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้และนำเสนอต่อสาธารณะได้

ในเรื่องของผลโครงการ ปรากฏว่าเด็กทั้งสองจังหวัดมีการติดต่อกันอยู่ตลอดเด็กได้เพื่อนใหม่และมีความภูมิใจในเพื่อนใหม่ ในด้านในเรื่องของผลโครงการ ปรากฏว่าเด็กทั้งสองจังหวัดมีการติดต่อกันอยู่ตลอดเด็กได้เพื่อนใหม่และมีความภูมิใจในเพื่อนใหม่ ในด้านจิตสำนึก เด็กเกิดจิตสำนึกในหลายๆ เรื่อง เช่น ความสามัคคี การพัฒนาตนเอง การรักเพื่อน การรักท้องถิ่น ในเรื่องจิตอาสา สามารถดูจากแบบประเมินได้เลยว่า เด็กเหล่านี้ดีใจมากที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน จากกรณีเหล่านี้ ผมขอยกตัวอย่างกิจกรรมวิถีชุมชน เรื่อง “หม่ำและไส้กรอกชัยภูมิ” โรงเรียนได้ไปทำการค้นคว้าการทำหม่ำชัยภูมิ จนสามารถทำกันเองได้ และได้แบ่งปันความรู้กับผู้มาเยือนจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในวันต้อนรับ จนผู้มาเยือนสามารถทำเป็น และสามารถนำความรู้ที่ได้รับกลับไปยังชุมชนตนเอง โดยสรุป สิ่งที่ได้ทำและแบ่งปันกันนี้ เป็นความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ เป็นการสร้างและพัฒนาจิตอาสาที่จะทำให้คนอยู่ร่วมกันได้เป็นอย่างดี

เรื่องสุดท้ายที่อยากพูดถึงคือ การพัฒนาโลกทัศน์ หากมองจากที่สูง เราจะสามารถมองเห็นภาพด้านล่างได้กว้างขึ้น การที่เด็กนักเรียนมีเพื่อนมากขึ้นและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคนที่หลายหลาย จะสามารถทำให้เขามีความคิด มีมิติที่กว้างขึ้นเช่นกัน ในกรณีนี้ เด็กนักเรียนจากชัยภูมิจะมีมิติของเด็กนักเรียนจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์อยู่ในตัว ส่วนครูเองก็เกิดการสร้างเครือข่ายขึ้นเพราะมีการพูดคุย แลกเปลี่ยนกัน ผมมองว่า สิ่งนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจ และเป็นอนาคตที่สำคัญยิ่ง ขอบคุณครับ

* ถอดความจากการบรรยายพิเศษในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการเหย้า – เยือน เพื่อพลังแผ่นดิน ปี 2557 วันที่ 7 พฤศจิกายน 2557 ที่ กระทรวงการต่างประเทศ

ต่อยอดความรู้ สู่การปฏิบัติ

คำกล่าวเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการต้นกล้าความดี ตามวิถีพอเพียง

พลังความรู้นำเยาวชนสู่ยุค 4.0 4.0 เป็นคำที่สะท้อนของวิวัฒนาการ จากยุคที่เราเคยล่าสัตว์ ทำการเกษตร บัดนี้ก็มาถึงยุคที่เราจะต้องสร้างและขับเคลื่อนสังคมด้วยนวัตกรรม

ผู้บริหารกับการบ่มเพาะเยาวชนให้เป็นต้นกล้าความดี ในวิถีพอเพียง

พลังความรู้นำเยาวชนสู่ยุค 4.0 4.0 เป็นคำที่สะท้อนของวิวัฒนาการ จากยุคที่เราเคยล่าสัตว์ ทำการเกษตร บัดนี้ก็มาถึงยุคที่เราจะต้องสร้างและขับเคลื่อนสังคมด้วยนวัตกรรม

พลังความรู้นำเยาวชนสู่ยุค 4.0

พลังความรู้นำเยาวชนสู่ยุค 4.0 4.0 เป็นคำที่สะท้อนของวิวัฒนาการ จากยุคที่เราเคยล่าสัตว์ ทำการเกษตร บัดนี้ก็มาถึงยุคที่เราจะต้องสร้างและขับเคลื่อนสังคมด้วยนวัตกรรม

keyboard_arrow_up