Skip to main content

ตามรอยพระราชา สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ผู้เข้าชม 4,165

โดย นางสาวบุษฎี สันติพิทักษ์
อธิบดีกรมสารนิเทศ


หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นพรพระราชทานจากพระราชา ซึ่งประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข โดย 3 ห่วง คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และ 2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ ซึ่งประกอบ ความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง และเงื่อนไขคุณธรรม ซึ่งประกอบด้วย ความซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน สติปัญญา และแบ่งปัน) หากมีคุณสมบัติครบตามนี้แล้วจะทำให้ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมมีการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นบุคคลแรกที่ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล “ความสำเร็จสูงสุด ด้านการพัฒนามนุษย์” (UNDP Human Development Lifetime Achievement Award) จากโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) จากพระราชกรณียกิจ ที่ทรงทุ่มเทพระวรกายมาโดยตลอด ผ่านโครงการในพระราชดำริกว่า 3,000 โครงการ เพื่อเป็นต้นแบบของการพัฒนาทรัพยากรและคุณภาพที่ดีขึ้นของชาวไทย และชาวต่างชาติ โดยรางวัลดังกล่าวถือเป็นตัวแทนของความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ทั้งในระดับชาติ ภูมิภาค และสากล

เป้าหมายการพัฒหาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป็นกรอบวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกระหว่างปี พ.ศ. 2558-2573 โดยผู้นำของประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้ให้การรับรองเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2558 ระหว่างการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (UN Summit for the Adoption of the Post-2015 Development Agenda) โดยเป็นเป้าหมายที่พัฒนาต่อจาก เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) ที่สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2558 เป้าหมายดังกล่าวประกอบด้วย 17 เป้าหมาย ได้แก่

  1. ขจัดความยากจน (No poverty) 
  2. ขจัดความหิวโหย (Zero Hunger) 
  3. การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-being) 
  4. การศึกษาที่เท่าเทียม (Quality Education) 
  5. ความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Equality) 
  6. การจัดการน้ำและสุขาภิบาล (Clean water and sanitation) 
  7. พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Affordable and clean energy) 
  8. การจ้างานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (Decent work and economic growth) 
  9. อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน (Industry, innovation and infrastructure) 
  10. ลดความเหลื่อมล้ำ (Reduced inequalities) 
  11. เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน (sustainable cities and communities) 
  12. แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน (Responsible consumption and production) 
  13. การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate action) 
  14. การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล (Life below water) 
  15. การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก (Life on land) 
  16. สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก (Peace and justice strong institution) 
  17. ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Partnerships for the goals)

สำหรับการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน (SGDs) โดยใช้แนวทางตามหลักปรัญชาของเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) นั้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2559 ให้ส่วนราชการรัฐต่างๆ ดำเนินการตามเป้าหมายที่มีหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทาง สรุปย่อได้ ดังนี้

  1. ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) เพื่อจัดทำชุดความรู้เกี่ยวกับ SEP for SDGs เพื่อให้ภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งต่างประเทศ 
  2. มีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำ SEP ไปปฏิบัติจนเกิดผลสำเร็จอย่างแท้จริง รวมทั้งการกำหนดตัวชี้วัด SEP for SDGs ที่มีมาตรฐานเดียวกัน และมอบหมายให้ สศช. จัดทำรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตาม SDGs
  3. ให้กระทรวงศึกษาธิการกำหนดเนื้อหา/เครื่องมือเผยแพร่ SEP for SDGs ในหลักสูตรการเรียนการสอนและกิจกรรมนอกหลักสูตร
  4. การมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยมีกลไกการขับเคลื่อน SEP for SDGs ในระดับพื้นที่ (area based) โดยทำงานในลักษณะประชารัฐร่วมกับภาคเอกชน ภาควิชาการ ท้องถิ่น และประชาสังคม
  5. ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการสร้าง SEP for SDGs Partnership และ SEP for SDGs Youth Partnership ผ่านการจัดฝึกอบรม ดูงาน หรือโครงการพัฒนาไปยังประเทศต่างๆ และการจัดทำรายงาน Voluntary National Review (VNR) เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมสหประชาชาติ
  6. ให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการดำเนินการเพื่อขับเเคลื่อน SGDs ตามแนวทาง SEP ของหน่วยงานต่างๆ

ทั้งนี้ ยังให้ทุกส่วนราชการดำเนินการตามแนวทางขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่นยืน พ.ศ. 2573 โดยยึดหลักปรัญชาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทาง ให้สอดคล้องกับแผนงานในภารกิจหลักของหน่วยงานระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) แผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี และ 1 ปี และแผนการใช้จ่ายงบประมาณ

เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2559 นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรีได้รับมอบตำแหน่งประธานกลุ่ม 77 (G77) วาระปี พ.ศ. 2559 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก โดยในปีดังกล่าว ไทยได้ผลักดันปฏิญญาระดับรัฐนตรีกลุ่ม 77 ซึ่งระบุเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งข้อริเริ่มในการสร้างหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาจนเป็นผลสำเร็จ

นอกจากนี้ ไทยยังได้กิจกรรมต่างๆภายในประเทศภายใต้กรอบ G77 เพื่อเผยแพร่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในหลายระดับ รวมถึงระดับเยาวชน โดยได้จัดโครงการเสริมสร้างหุ้นส่วนความร่วมมือกลุ่ม 77 เพื่อเผยแพร่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SEP for SDGs Youth Partnership การจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา การเสริมสร้างความเข้าใจและการรับรู้เกี่ยวกับ SEP for SDGs ให้แก่เยาวชน การสอดเทรกความเชื่อมโยงระหว่าง SEP กับ SDGs ในโครงการและกิจกรรมต่างๆ โดยดำเนินโครงการที่มุ่งบรรลุ SDGs ที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ การเน้นการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน รวมถึงการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ

* ถอดความจากการบรรยายพิเศษในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการต้นกล้าความดี ตามวิถีพอเพียง ปี 2561
วันที่ 18 มกราคม 2561 ที่โรงแรมนารายณ์ กรุงเทพฯ

ต่อยอดความรู้ สู่การปฏิบัติ

คำกล่าวเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการต้นกล้าความดี ตามวิถีพอเพียง

พลังความรู้นำเยาวชนสู่ยุค 4.0 4.0 เป็นคำที่สะท้อนของวิวัฒนาการ จากยุคที่เราเคยล่าสัตว์ ทำการเกษตร บัดนี้ก็มาถึงยุคที่เราจะต้องสร้างและขับเคลื่อนสังคมด้วยนวัตกรรม

ผู้บริหารกับการบ่มเพาะเยาวชนให้เป็นต้นกล้าความดี ในวิถีพอเพียง

พลังความรู้นำเยาวชนสู่ยุค 4.0 4.0 เป็นคำที่สะท้อนของวิวัฒนาการ จากยุคที่เราเคยล่าสัตว์ ทำการเกษตร บัดนี้ก็มาถึงยุคที่เราจะต้องสร้างและขับเคลื่อนสังคมด้วยนวัตกรรม

พลังความรู้นำเยาวชนสู่ยุค 4.0

พลังความรู้นำเยาวชนสู่ยุค 4.0 4.0 เป็นคำที่สะท้อนของวิวัฒนาการ จากยุคที่เราเคยล่าสัตว์ ทำการเกษตร บัดนี้ก็มาถึงยุคที่เราจะต้องสร้างและขับเคลื่อนสังคมด้วยนวัตกรรม

keyboard_arrow_up