Skip to main content

ทิศทางการเสริมสร้างยุวทูตความดี ปี 2561

ผู้เข้าชม 9,710

ผอ.จันทร์ทิพา ภู่ตระกูล 
ผู้อำนวยการมูลนิธิยุวทูตความดี


มูลนิธิยุวทูตความดี เป็นองค์กรที่สืบสานงานต่อจากโครงการยุวทูตความดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ (5 ธันวาคม 2542) เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงศึกษาธิการ โดย สพฐ. (ในชั้นนั้น สพป.) นำโดยคุณหญิง กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เป็นผู้คัดเลือกโรงเรียนนำร่องจำนวน 76 จังหวัด ซึ่งต่อมาได้ขยายครบทั้ง 77 จังหวัด

โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการยุวทูตความดีฯ มี 3 กลุ่ม คือกลุ่มนำร่อง กลุ่มโรงเรียนขยายผล ปี 2544-2545 ทั้งสองกลุ่มนี้เรียกว่า โรงเรียนเครือข่ายยุวทูตความดี ส่วนกลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มโรงเรียนที่ได้รับการเชิญชวนให้เข้าร่วมเฉพาะโครงการฯ เรียกว่าโรงเรียนภาคี
มูลนิธิยุวทูตความดีก่อตั้งเมื่อปี 2550 เพื่อสานต่อการดำเนินโครงการและกิจกรรมให้ต่อเนื่อง ด้วยวิสัยทัศน์ ปลูกจิตสำนึก ฝึกจิตอาสา พัฒนาโลกทัศน์ ให้เยาวชนเป็นคนดี รอบรู้ และมีศักยภาพ พร้อมพัฒนาประเทศ

แม้จะมีบุคลากรไม่มาก แต่มูลนิธิมีฐานสนับสนุนที่ดี ทั้งงบประมาณ นโยบาย บุคลากร อาสาสมัคร เครือข่ายคณะต่างประเทศในไทย รวมทั้งเครือข่ายกลุ่มมิตรภาคี ทั้งรัฐวิสาหกิจ มูลนิธิ หน่วยงานภาครัฐ สถาบันสงฆ์ ภาคเอกชนด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถรองรับโครงการและกิจกรรมที่มีจำนวนผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากได้ กำลังสำคัญที่ทำให้การก้าวเข้าสู่ปีที่ 19 ของยุวทูตยังคงมีโครงการดี ๆ มากมาย คือโรงเรียนเครือข่ายมูลนิธิยุวทูตความดี โดยเฉพาะผู้อำนวยการและคณะครูที่ให้ความร่วมมืออย่างเต็มกำลัง


1. การสัมมนาฯ

ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 5 ปี มีจุดมุ่งหมาย เพื่อบูรณาการความร่วมมือ ให้เคลื่อนสู่ทิศทางและเป้าหมายร่วมกัน มูลนิธิให้ความสำคัญกับการสัมมนาฯทุกครั้ง ด้วยเห็นว่าเป็นโอกาสที่ทำให้ผู้บริหาร และครู ได้พบปะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์ระหว่างกัน และนำเสนอแนวทางการดำเนินโครงการอย่างสร้างสรรค์และบรรลุเป้าหมายของการสัมมนาฯ ได้ดังนี้

1. ให้ทราบถึงโครงการ/ กิจกรรมของมูลนิธิ ที่อยากเชิญชวนให้ทุกท่านร่วมกันสร้างประโยชน์สูงสุดแก่เยาวชน เช่นเดียวกับองค์กร/มูลนิธิอื่น ๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างคนเก่ง รอบรู้ มีคุณภาพ ให้กับสังคมไทย ตามความถนัดและเชี่ยวชาญขององค์กรผู้ให้ จึงจะไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการอื่น ๆ

2. สร้างคนดี คิดถูก คิดเป็น มีคุณภาพ สามารถสื่อสารข้ามพรมแดน เข้าถึงผู้คน และวิทยาการที่ล้ำหน้าในประเทศต่าง ๆ ได้อย่างภาคภูมิ รวมทั้งสามารถนำเสนอประเทศไทยได้อย่างสง่างาม ทัดเทียมกับประเทศอื่น ๆ ก้าวล้ำในเรื่องการประดิษฐ์คิดค้น และภูมิปัญญา

3. มูลนิธิยุวทูตความดี เลือกขัดเงาคนดี คนเก่งที่มีอยู่แล้วให้ฉายแสง ขยายสู่การเป็นพลังที่จะช่วยนำพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืน


2. มิติของการสัมมนาฯ

1. มิติการมีส่วนร่วม การแบ่งปัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน
การถ่ายทอด “เล่าสู่กันฟัง” ของผู้บริหารโรงเรียนถึงประสบการณ์การเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมกับมูลนิธิ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สร้างเครือข่ายระหว่างโรงเรียน แบ่งปันปัญหาที่พบและแนวทางการแก้ไข

2มิติแนวคิด ทิศทาง และเป้าหมาย
พัฒนา เสริมสร้างเยาวชนให้เป็นคนเก่ง คิดเป็น ทำเป็น ริเริ่มสร้างสรรค์ กล้าที่จะก้าวสู่โลกที่ล้ำด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรม มีความเข้าใจ เข้าถึง และปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกฝังจิตสำนึก และจิตอาสา สืบสานวัฒนธรรมไทย และอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

3. มิติการสร้างเยาวชนให้เป็นต้นกล้าความดี ตามวิถีพอเพียง
จัดให้มีกลุ่มปฏิบัติ (Workshop) ที่เป็นการคิดร่วมกับเพื่อน ๆ 15 จังหวัด ซึ่งมีความแตกต่าง แต่มีเป้าหมายเดียวกัน นำไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน โดยคิดและทำร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์ และมีที่ปรึกษาคอยแนะนำ

4. มิติต่างประเทศ
อาเซียนกับข้อควรรู้เมื่อเดินทางต่างประเทศ ภาษาที่ใช้สื่อสารสร้างสัมพันธ์ และเรียนรู้ในกลุ่มปฏิบัติการ แผนหรือตารางกำหนดเวลาในการพัฒนาโลกทัศน์ในต่างประเทศของนักเรียน ครู และผู้บริหาร นวัตกรรมจากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ปฏิบัติ เช่น หุ่นยนต์ดินสอ และหัวโขนจากวัสดุทำเอง

ท้ายที่สุดนี้ ขอให้ท่านเข้าถึงคุณค่าของการสัมมนา สนุกกับการเรียนรู้ และนำไปใช้ประโยชน์กับการบ่มเพาะนักเรียนของท่านต่อไป

ก้าวเข้าสู่ปีที่ 19 ของยุวทูตความดี โครงการและกิจกรรมของมูลนิธิยุวทูตความดีมุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมให้เยาวชนยุวทูตฯ เป็นพลังต้นกล้าแห่งความดีที่น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง เพื่อเป็นแบบอย่างของเยาวชนในการเผยแพร่ วิถีพอเพียง ตามคำพ่อสอน สู่ชุ่มชนและสังคมในวงกว้าง โดยมีแนวทางการเสริมสร้างต้นกล้าแห่งความดี 9 ด้าน 

1. บูรณาการความร่วมมือ กับคณะผู้บริหาร และคณะครูผู้รับผิดชอบโครงการฯ ของโรงเรียนเครือข่ายยุวทูตฯ ด้วยการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อกำหนดแผนการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ในการร่วมปลูกเพาะเยาวชนให้เป็นต้นกล้าแห่งความดี มุ่งมั่นตั้งใจปฏิบัติตามคำพ่อสอนในเรื่องความพอเพียง

2. ขยายขอบเขตการพัฒนาแนวคิดให้กับเยาวชนยุวทูตฯ ให้ได้เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเข้าใจ และเข้าถึง เพื่อน้อมนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ด้วยการจัดค่ายอบรมที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงเชียงใหม่ สกลนคร เพชรบุรี และฉะเชิงเทรา ค่ายอบรมธรรมมะที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ค่ายอบรมสิ่งแวดล้อม ที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และค่ายอบรมภาษาอังกฤษ ที่จังหวัดเพชรบุรี

3. ส่งเสริมพลังการรู้รัก – สามัคคี สร้างเครือข่ายเยาวชนที่มีจิตสำนึก และจิตอาสา เป็นแบบอย่างที่ดี ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการเหย้า – เยือน สานสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนในแต่ละโรงเรียนต่างภูมิภาค เพื่อสร้างความสมัครสมานสามัคคีในหมู่เยาวชนที่มีพื้นฐานบริบททางสังคมและวัฒนธรรมแตกต่างกัน ให้เป็นพลังในการร่วมกันขับเคลื่อนพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติต่อไป

4. สนับสนุนการพัฒนาโลกทัศน์ ให้เยาวชนยุวทูตฯ ได้เผยแพร่แนวคิด วิถีพอเพียง ตามคำพ่อสอน ให้กับเยาวชนในประเทศที่ไปเยือน ร่วมกับการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เสริมสร้างมิตรไมตรีกับเยาวชนในประเทศจีน เวียดนาม เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชา และประเทศในโครงการสถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลใหญ่ (สอท. สกญ.) อุปถัมภ์

5. สร้างเสริมบทบาทของยุวทูตในการสานสัมพันธ์กับเยาวชนของมิตรประเทศ ด้วยความร่วมมือกับกับสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศ ส่งเสริมบทบาทของเยาวชนยุวทูตความดี ให้มีส่วนร่วมในการในการฉลองครบรอบความสัมพันธ์ไทยกับต่างประเทศ และโครงการแลกเปลี่ยนระดับเยาวชน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เพิ่มพูนประสบการณ์ สามารถนำไปเผยแพร่ขยายผลในโรงเรียน ชุมชน และสังคมของตนต่อไป

6. สนับสนุนความร่วมมือกับสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศในไทย ดำเนินโครงการ ผู้อุปถัมภ์ เพิ่มพูนความรอบรู้ในมิติความสัมพันธ์กับต่างประเทศให้แก่โรงเรียนในเครือข่ายยุวทูตความดี รวมทั้งให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่มีความประพฤติดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อสนับสนุนคนดี หมั่นเพียรในการแสวงหาความรู้ ให้เติบโตเป็นสะพานเชื่อมโยงความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างกันในอนาคต

7. เพิ่มพูนความร่วมมือกับหน่วยงานภายในกระทรวงการต่างประเทศ สนับสนุนนักเรียน ครู และผู้บริหารในโรงเรียนเครือข่ายยุวทูตความดีผ่าน
โครงการอบรมภาษาอังกฤษของครู สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ
โครงการบัวแก้วสัญจร กรมสารนิเทศ
โครงการห้องสมุดอาเซียน กรมอาเซียน
โครงการมอบทุนการศึกษาจาก รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ และคณะทูตต่างประเทศในไทย
เพื่อสร้างเยาวชนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม มีจิตสำนึกรัก และทดแทนคุณแผ่นดิน มีจิตอาสา ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึง และเท่าเทียม

8. พัฒนาความร่วมมือกับมิตรภาคี (Friends of YAVF) ทั้งภาครัฐ และเอกชน ที่ให้การสนับสนุนมูลนิธิฯ ในการจัดทำโครงการ และกิจกรรมพัฒนาเยาวชน ร่วมมือกับภาคเอกชนในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนยุวทูตฯ ให้เกิดทักษะการเรียนรู้ ก้าวล้ำในยุคโลกาภิวัตน์ รวมทั้งมอบทุนการศึกษาให้ได้เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น และโอกาสในการเข้าทำงานในองค์กรที่ให้การสนับสนุนดังกล่าว ด้วยการปรับขยายรูปแบบของกิจกรรม และให้โอกาสนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์

9. การใช้สื่อสร้างสรรค์ ส่งผ่านข้อมูลความรู้ และสร้างการมีส่วนร่วม ด้วยการเผยแพร่ องค์ความรู้ และประสบการณ์ในโครงการ/กิจกรรมที่ทางโรงเรียน (ครู และนักเรียน) ดำเนินการร่วมกับมูลนิธิฯ ทางเว็บไซต์มูลนิธิยุวทูตความดี (www.yavf.or.th) ผ่านรายการยุวทูต On Air สถานีวิทยุสราญรมย์ AM 1575 kHz ทุกวันศุกร์ เวลา 17.30-18.00 น. และทาง Facebook มูลนิธิยุวทูตความดี(www.facebook.com/yavfThailand) รวมทั้งการจัดทำหนังสือ ซึ่งดำเนินการในปี 2560-2561 จำนวน 5 เล่ม (ธ สถิตในดวงใจนิจนิรันดร์ เมืองคนดี ปณิธานความดี เยาวชนคนดี และจากยุวทูตความดีสู่การเป็นพลเมือง ที่เข้มแข็งของสังคมไทยร่วมกับการเผยแพร่ในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) และถ่ายทอด ทุกกิจกรรมของมูลนิธิฯ ผ่านทาง Facebook Live

* ถอดความจากการบรรยายพิเศษในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการต้นกล้าความดี ตามวิถีพอเพียง ปี 2561 วันที่ 18 มกราคม 2561 ที่โรงแรมนารายณ์ กรุงเทพฯ

ต่อยอดความรู้ สู่การปฏิบัติ

คำกล่าวเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการต้นกล้าความดี ตามวิถีพอเพียง

พลังความรู้นำเยาวชนสู่ยุค 4.0 4.0 เป็นคำที่สะท้อนของวิวัฒนาการ จากยุคที่เราเคยล่าสัตว์ ทำการเกษตร บัดนี้ก็มาถึงยุคที่เราจะต้องสร้างและขับเคลื่อนสังคมด้วยนวัตกรรม

ผู้บริหารกับการบ่มเพาะเยาวชนให้เป็นต้นกล้าความดี ในวิถีพอเพียง

พลังความรู้นำเยาวชนสู่ยุค 4.0 4.0 เป็นคำที่สะท้อนของวิวัฒนาการ จากยุคที่เราเคยล่าสัตว์ ทำการเกษตร บัดนี้ก็มาถึงยุคที่เราจะต้องสร้างและขับเคลื่อนสังคมด้วยนวัตกรรม

พลังความรู้นำเยาวชนสู่ยุค 4.0

พลังความรู้นำเยาวชนสู่ยุค 4.0 4.0 เป็นคำที่สะท้อนของวิวัฒนาการ จากยุคที่เราเคยล่าสัตว์ ทำการเกษตร บัดนี้ก็มาถึงยุคที่เราจะต้องสร้างและขับเคลื่อนสังคมด้วยนวัตกรรม

keyboard_arrow_up