Skip to main content

ทิศทางและการต่อยอด โครงการเหย้า – เยือน เพื่อพลังแผ่นดิน

7 - 9 พฤศจิกายน 2557
ผู้เข้าชม 24,656

โดย ผอ.จันทร์ทิพา ภู่ตระกูล
มูลนิธิยุวทูตความดี


โครงการเหย้า – เยือนเพื่อพลังแผ่นดินนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2553 มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการรู้รัก สามัคคี ของยุวทูตความดีระหว่างภูมิภาค โดยการเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ การเข้าถึงอัตลักษณ์ และความแตกต่าง เพื่อสร้างความสมัครสมาน สามัคคี ในหมู่คนไทยที่มีพื้นฐานทางบริบทในสังคมและวัฒนธรรมที่หลากหลาย ให้เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนและสังคมรวมทั้งประเทศชาติ จากพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่องการรู้รัก สามัคคี มูลนิธิฯ จึงเริ่มโครงการนี้ขึ้น เพราะต้องการให้เด็กเข้าใจและทราบซึ้งถึงแนวคิดนี้ในการจับคู่โรงเรียนปีแรก (2553) 2 คู่ คือ เชียงใหม่ – ตาก ชุมพร – สมุทรสาคร

ในปีที่สอง (2555) 3 คู่ คือ ระยอง – สุราษฎร์ธานี นครพนม – สมุทรสาคร และจันทบุรี – สุโขทัย การจับคู่เป็นไปในลักษณะ 1 โรงเรียน 1จังหวัดอย่างไรก็ตาม ในปี 2556 ดำเนินการระหว่าง 5 คู่จังหวัด ลักษณะการจับคู่ได้เปลี่ยนแปลงเป็น 4 โรงเรียน 1 จังหวัด โดย 1 โรงเรียนหลักใน 1จังหวัด บวกกับ 3 โรงเรียนภาคีในแต่ละจังหวัด เมื่อคู่มาเหย้า – เยือน จะได้พบปะกันระหว่าง 8 โรงเรียน เริ่มด้วยประจวบคีรีขันธ์ – ชัยภูมิ สุพรรณบุรี – นครศรีธรรมราช น่าน – สุรินทร์ เลย – ชลบุรี และ กระบี่ – ขอนแก่น

โครงการเหย้า-เยือนฯ ในปี 2556 จึงมี 40 โรงเรียน จาก 10 จังหวัด โดยมีนักเรียน 943 คน ครู 310 คน และผอ.โรงเรียน 53 คนเข้าร่วมกิจกรรมเหย้าเยือน รวมทั้งสิ้น 1,306 คน ใช้เวลาเหย้า – เยือนในแต่ละแห่ง 5 – 7 วัน และมีกิจกรรมหลัก 4 กิจกรรม ซึ่งผอ.คณิต และผอ.จุฑาทิพย์ ได้ยกตัวอย่างแล้วเมื่อเช้านี้

เมื่อกล่าวถึงการเหย้า – เยือน เราไม่อยากให้โครงการผ่านมาแล้วก็ผ่านไป โครงการฯ เริ่มจากโรงเรียนส่งกำหนดการและข้อมูลโครงการเสร็จสิ้นเรียบร้อยภายใน 1 สัปดาห์ภายหลังการสัมมนาฯ เมื่อผ่านขั้นตอนการปรับแก้ การประสาน และหารือระหว่างมูลนิธิฯ กับทางโรงเรียนแล้ว การดำเนินการก็เริ่มขึ้นเมื่อนั้น โรงเรียนหลักของแต่ละจังหวัดจะได้รับงบประมาณจากมูลนิธิฯ จำนวน 5 หมื่นบาท และโครงการจะถือว่าเสร็จสิ้นเมื่อโรงเรียนได้ทำรายงานผลมายังมูลนิธิฯ อย่างไรก็ตาม หลายโรงเรียนมีความคิดที่จะทำโครงการต่อในปีถัดไป โดยจะทำกันเองแต่เปลี่ยนกลุ่ม เพราะโรงเรียนเหล่านี้รู้ช่องทางในการสนับสนุนแล้ว เช่น น่านกับสุรินทร์ ซึ่งตั้งใจว่าจะทำให้ครบ 3 ปี และจะขยายโครงการไปเชื่อมโยงกับจังหวัดอื่นเอง เพราะในส่วนของมูลนิธิฯ นั้น จะต้องเดินหน้าโครงการให้ครบ 77 จังหวัดก่อน แล้วจึงค่อยตัดสินใจต่อไปว่าจะขยายผลหรือต่อยอดอย่างไรต่อไป

การที่จะทำให้โครงการนี้เกิดความต่อเนื่องและมีความยั่งยืนมี 5 ปัจจัยสำคัญ คือ

1. การมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของโรงเรียนในการสร้างมิติของการเรียนรู้ให้ครอบคลุมกิจกรรมที่สร้างสรรค์และยังประโยชน์ สิ่งนี้สามารถช่วยขยายผลสู่ความยั่งยืนได้ 

2. ความแน่วแน่และหนักแน่นในการดำเนินโครงการของผู้บริหารโรงเรียน หากผู้บริหารโรงเรียนมีคุณสมบัติเหล่านี้ งานก็จะถือว่าเสร็จเกินครึ่งแล้ว

3. การทุ่มเท ช่วยคิดและช่วยทำของครู เหล่านี้จะทำให้เยาวชนเป็นคนดี เป็นคนเก่ง เป็นคนที่สามารถอนุรักษ์สิ่งดีงามให้พื้นที่ตั้งต้นและเรียนรู้วัฒนธรรมที่มาจากต่างถิ่นต่างพื้นที่ได้ 

4. การผนึกกำลังระหว่างโรงเรียนหลักและโรงเรียนภาคี การผนึกกำลังนี้ย่อมขยายผลในการเสริมสร้างความสามัคคีและขยายขอบเขตการเรียนรู้ของเยาวชนยุวทูตได้ อีกทั้งสามารถปลูกเพาะความรักในถิ่นกำเนิดและมีการพัฒนาจิตสำนึกในการตอบแทนคุณแผ่นดินได้อีกด้วย

ความร่วมมือร่วมใจระหว่างโรงเรียนกับหน่วยงานทางการในจังหวัด เช่น องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น สมาคมศิษย์เก่า สมาคมผู้ปกครอง หากองค์กรเหล่านี้ประสานร่วมมือร่วมใจและเกื้อหนุนกันโดยพูดอย่างจริงใจ และปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ จะก่อให้เกิดการสนับสนุนจากเยาวชนจากทุกทาง เพราะพวกเขาเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้

ทั้งนี้ สิ่งที่ท่านทำน่าจะแสดงให้คนในพื้นที่ได้รู้เห็นด้วย โดยอาจต้องร่วมมือกับสื่อในจังหวัดเพื่อช่วยในการเผยแพร่ขยายผล จุดประกายการรู้รัก สามัคคี การมีจิตสำนึกในการทำความดี มีจิตสาธารณะเพื่อสังคม ไม่ว่าจะผ่านทางรายการวิทยุ หรือเว็บไซต์ เพื่อไม่ให้คนมองข้ามในสิ่งดีๆ ที่ท่านทำ และสำหรับการต่อยอดโครงการนั้น การจัดโครงการของแต่ละโรงเรียนหากจัดไม่ทับซ้อนกัน มูลนิธิฯ ก็จะสามารถหาโอกาสไปร่วมช่วยคิดหรือช่วยต่อยอดให้ท่านได้ครบทุกโรงเรียน ซึ่งรูปแบบและลักษณะการต่อยอดคงจะได้พิจารณาและประเมินจากผลการดำเนินการต่อไป


* ถอดความจากการบรรยายพิเศษในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการเหย้า – เยือน เพื่อพลังแผ่นดิน ปี 2557 วันที่ 7 พฤศจิกายน 2557 ที่กระทรวงการต่างประเทศ

ต่อยอดความรู้ สู่การปฏิบัติ

คำกล่าวเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการต้นกล้าความดี ตามวิถีพอเพียง

พลังความรู้นำเยาวชนสู่ยุค 4.0 4.0 เป็นคำที่สะท้อนของวิวัฒนาการ จากยุคที่เราเคยล่าสัตว์ ทำการเกษตร บัดนี้ก็มาถึงยุคที่เราจะต้องสร้างและขับเคลื่อนสังคมด้วยนวัตกรรม

ผู้บริหารกับการบ่มเพาะเยาวชนให้เป็นต้นกล้าความดี ในวิถีพอเพียง

พลังความรู้นำเยาวชนสู่ยุค 4.0 4.0 เป็นคำที่สะท้อนของวิวัฒนาการ จากยุคที่เราเคยล่าสัตว์ ทำการเกษตร บัดนี้ก็มาถึงยุคที่เราจะต้องสร้างและขับเคลื่อนสังคมด้วยนวัตกรรม

พลังความรู้นำเยาวชนสู่ยุค 4.0

พลังความรู้นำเยาวชนสู่ยุค 4.0 4.0 เป็นคำที่สะท้อนของวิวัฒนาการ จากยุคที่เราเคยล่าสัตว์ ทำการเกษตร บัดนี้ก็มาถึงยุคที่เราจะต้องสร้างและขับเคลื่อนสังคมด้วยนวัตกรรม

keyboard_arrow_up