Skip to main content

ผู้นำกับการเสริมสร้างค่านิยม 12 ประการ

26 - 29 กันยายน 2557
ผู้เข้าชม 19,347

โดย ดร. พิธาน พื้นทอง ผอ. สนก. สพฐ.


ปัจจุบันนี้ เยาวชนไทยมีพฤติกรรมแตกหน่อไม่ค่อยเข้าร่องเข้ารอยเท่าไหร่ จนผมคิดว่า ค่านิยม 12 ประการจะมา เติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปของบางช่วงของระบบการศึกษา ตั้งแต่สมัยรุ่นเราเรียนหนังสือ  เมื่อได้อ่านเรื่องนกกางเขนเราก็เลิกใช้หนังสติ๊กยิงนกเป็นต้นมา สงสารลูกนกที่โดนหนังสติ๊ก เรื่องคุณธรรมในแต่ละยุคแต่ละสมัย คุณธรรมไหนบกพร่องไปก็จะมีการรณรงค์เรื่องนั้นเรื่องนี้ ตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์เป็นต้นมา จะมีเรื่องวินัย เรื่องประหยัด เรื่องวิถีพุทธ เรื่องยุวทูตความดีมีเจริญเติบโตมา 15 ปีแล้ว  ยุคสมัยนี้เราขาดคุณธรรมไปหลายเรื่อง  ก็เลยเอามาเติมเต็มในส่วนตรงนี้  เวลาหว่านลงไปที่โรงเรียนเราหว่านไปทั้ง 12 ข้อ แต่ผมอยากให้เราไปวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันในโรงเรียนเราอีกครั้งหนึ่ง คุณธรรมไหนบกพร่องที่สุด ควรเป็นลำดับหนึ่งแล้วรณรงค์เรื่องนั้นอย่างเข้ม ๆ  เรื่องอื่น ๆ ลดหลั่นรอ ๆ ลงมา ถ้าทำทั้ง 12 ข้อพร้อมกันจะไม่ค่อยสำเร็จ เลยนำมาสู่บทกลอนที่ใช้ท่องกันเป็นส่วนใหญ่ ท่านพุทธทาสท่านพูดว่า “คนเราต้องเรียนความเป็นมนุษย์ หนึ่งคือเรียนหนังสือให้มีสติปัญญา สองคือเรียนความเป็นมนุษย์ใจสูงบริสุทธิ์สะอาด  สามคือเรียนอาชีพ”  ถ้าจะอบรม บ่มนิสัยเพื่อให้คนเปลี่ยนนิสัยอายุ 10 ปี อบรมสามเดือนครึ่ง อายุ 20 ปี อบรมสี่เดือน รับรองเปลี่ยนนิสัยแน่ แต่ถ้าอายุ 50 ปีเท่าเราต้องอบรมสี่ปี เขาจึงเรียกว่าไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก เราจึงต้อง ยุวทูตความดี ถ้าจะให้โตขนาดเราแล้วไปเป็นทูตความดีมันเปลี่ยนยาก เพราะฉะนั้นมันมีหลักสำคัญอยู่สามข้อ คือ


ข้อที่หนึ่ง องค์สามของการศึกษา แยกออกจากกันให้เด็ดขาด 

เห็นบางโรงเรียนสอนเรื่องคุณธรรมนี่นักเรียนเราจะต้องมีธรรมะที่ทำให้งาม มีหิริโสรัจจะ เราจะต้องมีทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา ถามว่านิสัยดีหรือยังยังไม่ใช่สิ่งที่ทำนั้นคือ cognitive คือสอนเป็นความรู้ยังไม่ได้ฝึกนิสัยคน เวลามีข้อสอบมาถามว่า ถ้านักเรียนเก็บกระเป๋าสตังค์ได้ นักเรียนควรทำอย่างไร ในห้องเด็กก็ตอบถูกตอบได้ แต่ยังไม่ได้อยู่ในสถานการณ์จริง อันนี้มองออกไหมว่า คุณลักษณะนิสัยของคนจริงๆต้องฝึกอย่างไร สติปัญญาต้องฝึกอย่างไร เรามาทำคุณลักษณะให้เป็นสติปัญญา เรามาสอนในสาระสังคมใช่ไหม เวลาเด็กนิสัยไม่ดีเราโทษใคร เราจะโทษครูสาระสังคม เราจะโทษครูฝ่ายปกครอง โทษครูแนะแนว จริงๆแล้วมันเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า จริงๆแล้วไม่ใช่ จริงๆแล้วนิสัยดีมันเป็นหน้าที่ของใคร


ข้อที่สอง คุณธรรมเป็นการปฏิบัติในวิถีชีวิตไม่ใช่ความรู้  

ข้อที่สาม คุณธรรมเป็นเรื่องของกระบวนการทั้งสังคม

ของครูทุกคนไม่ใช่ครูสาระสังคม เป็นเรื่องของทุกคน  เวลาเราจะไปส่งเสริมให้เด็กมีนิสัยดีเราจะทำอย่างไร สามารถสร้างพฤติกรรมได้ตั้งแต่ยังเล็ก ๆ
ระยะที่ 1 อายุตั้งแต่ 0-7 ปี คุณธรรมไม่รู้ รู้แค่ว่า อันไหนเป็นสิ่งที่ครูห้ามหรือครูไม่ห้าม ฉันหลีกเลี่ยงฉันไม่ทำเดี๋ยวครูลงโทษ เราจึงควรสร้างพฤติกรรมว่า อย่างนี้ทำได้ อย่างนี้ทำไม่ได้ ยกตัวอย่างเรื่องที่ห้ามในโรงเรียน เช่น ถอดรองท้าไม่เป็นระเบียบ ทิ้งขยะไม่ถูกที่ อันนี้ทำไม่ได้ถือเป็นกิจกรรมที่ครูห้ามทำกับครูให้ทำสิ่งเหล่านี้ เหมาะกับเด็ก แต่มาใช้กับวัยรุ่นไม่ได้

ระยะที่ 2 เริ่มไม่กลัวการลงโทษ เจตนาจะแสวงหารางวัลทั้งรางวัลทางใจและวัตถุสิ่งของเป็นกลุ่มเด็ก ชั้นป.1 – ป.2 ถ้าบอกว่าทำอย่างนั้นอย่างนี้จะได้รางวัลเด็กจะดีใจ
ระยะที่ 3 กับระยะที่ 4 คือ ระยะวัยรุ่น เจตนาที่จะทำตามที่ผู้อื่นเห็นชอบระยะที่หนักหนาสาหัสที่สุดในโรงเรียนคือระยะนี้ ระยะที่ 4 ก็เช่นเดียวกันเป็นเด็กช่วงม.ปลายถึงปี 1 – 2 เจตนาที่จะทำตามกฏระเบียบหรือหลักการเพราะเห็นความสำคัญของเรื่องนั้น ๆ เริ่มเข้าที่เข้าทางแล้วเพราะฉะนั้นเด็กม.ปลายมักจะไม่ค่อยมีปัญหามักจะทำตามกฏระเบียบที่ตกลงกันไว้ ส่วนระดับผู้ใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหา (เปิดคลิปโรงเรียนวัดทุ่งหวังให้ดู) ในเรื่องวินัยของเราจะสมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์ผมว่ามีพัฒนาการ คือ มีความรู้ความเข้าใจ มีความสามารถจำได้ และเปลี่ยนจากทฤษฎีมาเป็นปฏิบัติ  

ผมขอฝากเป็นประเด็นสุดท้ายเรื่อง ในหลวงมีพระราชดำรัสว่า “ถ้าคนดีเข้มแข็งในความดี จะทำให้คนเลวมาทำให้คนดีเป็นคนเลวยาก” กระบวนการทางสังคม ทางโรงเรียนจะเป็นสิ่งช่วยหล่อหลอมเด็ก  หลวงพ่อชาบอกว่า


เธอจงเฝ้าระวังความคิดของเธอ 

เพราะความคิดของเธอจะกลายเป็นความประพฤติของเธอ 

เธอจงเฝ้าระวังความประพฤติของเธอ 

เพราะความประพฤติของเธอจะกลายเป็นความเคยชินของเธอ

เธอจงระวังความเคยชินของเธอ 

เพราะความเคยชินของเธอจะกลายเป็นอุปนิสัยของเธอ

เธอจงระวังอุปนิสัยของเธอ 

เพราะอุปนิสัยของเธอจะกำหนดชะตากรรมของเธอชั่วชีวิต

ท้ายสุดในวันนี้ขอฝากคำขวัญวันครู เมื่อ 3 ปีที่แล้ว กล่าวไว้ว่า “ครูดีเป็นศรีแผ่นดิน ศิษย์ทั่วถิ่นศรัทธาบูชาครู” ขอฝากให้คณะครูทุกท่านเป็นประเด็นสุดท้ายครับ สวัสดีครับ


*ถอดความจากการบรรยายพิเศษในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการเยาวชนคนดี รู้คุณแผ่นดิน ปี 2557 
  วันที่ 27 กันยายน 2557 ที่ โรงแรมนารายณ์ ดร.พิธาน

ต่อยอดความรู้ สู่การปฏิบัติ

คำกล่าวเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการต้นกล้าความดี ตามวิถีพอเพียง

พลังความรู้นำเยาวชนสู่ยุค 4.0 4.0 เป็นคำที่สะท้อนของวิวัฒนาการ จากยุคที่เราเคยล่าสัตว์ ทำการเกษตร บัดนี้ก็มาถึงยุคที่เราจะต้องสร้างและขับเคลื่อนสังคมด้วยนวัตกรรม

ผู้บริหารกับการบ่มเพาะเยาวชนให้เป็นต้นกล้าความดี ในวิถีพอเพียง

พลังความรู้นำเยาวชนสู่ยุค 4.0 4.0 เป็นคำที่สะท้อนของวิวัฒนาการ จากยุคที่เราเคยล่าสัตว์ ทำการเกษตร บัดนี้ก็มาถึงยุคที่เราจะต้องสร้างและขับเคลื่อนสังคมด้วยนวัตกรรม

พลังความรู้นำเยาวชนสู่ยุค 4.0

พลังความรู้นำเยาวชนสู่ยุค 4.0 4.0 เป็นคำที่สะท้อนของวิวัฒนาการ จากยุคที่เราเคยล่าสัตว์ ทำการเกษตร บัดนี้ก็มาถึงยุคที่เราจะต้องสร้างและขับเคลื่อนสังคมด้วยนวัตกรรม

keyboard_arrow_up