Skip to main content

แนวทางการพัฒนาการศึกษาตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

26 - 29 กันยายน 2557
ผู้เข้าชม 22,844

โดย ว่าที่ร.ต. กิตติ ขันธ์มิตร กรมวังผู้ใหญ่


แนวทางในการพัฒนาการศึกษาตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทุกท่านคงทราบดีว่า สมเด็จพระเทพรัตน์ฯ ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 และปีหน้าท่านจะทรงพระชนม์มายุครบ 60 พรรษา พระองค์ท่านสมัยก่อน ทรงมีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินทร เทพรัตน์ราชสุดา กิตติวัฒนาดุลโสภาค พระองค์ท่านทรงเป็นพระราชธิดาองค์ที่ 2 ในพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถ้าพูดธรรมดา ก็เป็นลูกคนที่ 3 เป็นลูกสาวคนที่ 2 พระองค์ท่านทรงเรียนที่ โรงเรียนจิตลดาตั้งแต่ชั้นอนุบาล จนกระทั่งจบการศึกษาที่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนจิตลดา หลายคนคงทราบว่าพระองค์ท่านทรงสอบได้ที่ 1 ของประเทศไทย เวลาสอบมัธยมศึกษาตอนปลายใช้ข้อสอบรวมทั้งประเทศ และจะประกาศลำดับคนที่นึ่งถึงห้าสิบคนแรก และทรงสอบได้ที่ 1 ติดบอร์ด ทรงเรียนสายศิลป์ สมัยก่อนคือ มศ ๕ สมัยก่อนจากนั้นทรง ศึกษาต่อที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทบาลัย และทรงสำเร็จการศึกษาอักษรศาสตร์บัณฑิตเมื่อปี พ.ศ. 2520 ทรงได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่งและได้รับพระราชทานเหรียญทอง ทรงสอบได้เป็นที่หนึ่งตลอดทุกชั้นทุกปี ท่านทรงศึกษาต่อปริญญาโทสองมหาวิทยาลัย ทรงศึกษาที่มหาวิทยาลัยศิลปกร ทรงได้สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก และทรงสำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาภาษาบาลี – สันสกฤต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประเด็นสำคัญคือ ท่านได้ทรงศึกษาปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และทรงได้รับพระราชทานปริญญาด้านการศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตการศึกษามหาบัณฑิต ในสาขาวิชา พัฒนศึกษาศาตร์ในปี พ.ศ.2529 และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือท่านมีอาชีพเป็นครูทรงเป็นนักวิชากการศึกษา ทรงเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ท่านสอนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และการพัฒนาประเทศ พระองค์ท่านทรงไปสอนหนังสือที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าทุกสัปดาห์ อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๒ วัน ทรงประทับรถจากกรุงเทพ ทรงทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการกองวิชาประวัติศาสตร์ ท่านบริหารการศึกษาด้วย ท่านทรงเจริญรอยพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และโครงการตามพระราชดำริต่างๆ การทรงงานโครงการพระราชดำริ ในการช่วยเหลือประชาชน จากพระราชดำรัส และเอกสารต่าง ๆ (ดูรูป)

นอกจากทรงเป็นครู ได้ทรงงานโครงการต่างๆอีกมากมาย ก็ได้ทรงงานในโครงการส่วนพระองค์เองทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเป็นสมเด็จพระเทพรัตราชสุดเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรราชสีมาคุณากรปิยชาติสยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2520 การออกพระนามว่า สมเด็จพระเทพรัตน์ราช เป็นพระราชนิยมออกว่า (สม เด็จ พระ เทพ รัตน ราชสุดา)

นอกจากนี้ บรรดานานาประเทศได้ยกย่องเทิดทูนพระองค์ท่านฯ ทรงได้รับรางวัลแม็กไซไซ( Magsaysay ) ปี ๒๕๓๔ โครงการที่ทรงทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการเกษตรที่ทรงทำ และ FAO ได้ถวายรางวัลเป็นเรื่องของอาหารและการเกษตร World food program ได้ขอพระราชทานให้ท่านทรงเป็นทูตพิเศษทางด้านอาหารโรงเรียน Good wi ได้ถวายเหรียญทอง อาหารและเกษตร นอกจากนั้นที่จากการทรงงานด้านการศึกษา UNESCO ได้ทูลเชิญเป็นทูตสันถวไมตรี Special Ambassador of the United Nations World Food Program for School Feeding และประธานาธิบดีอินเดียก็ได้ถวายรางวัล นางอินทิรา คานธี เป็นรางวัลระดับนานาชาติที่มอบให้แก่ผู้ที่ทำประโยชน์ให้แก่มวลมนุษยชาติ ซึ่งประธานาธิบดีอเมริกาก็ได้รับรางวัลนี้ อันนี้ก็เป็นพระราชดำรัสตอนนึง เมื่อได้รับรางวัลอินทิรา คานธี

“… ตั้งแต่ข้าพเจ้ายังเป็นเด็ก ในครอบครัวและบรรดาผู้อยู่รอบข้างมักจะพูดจาหารือกันเรื่องการพัฒนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทั่วประเทศ เพื่อทรงงานด้านการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาชนบทห่างไกล การพัฒนาไม่ว่าจะเป็นด้านใด ๆ ล้วนแต่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ข้าพเจ้ามีโอกาสตามเสด็จไปเกือบทุกที่ …”

“… อย่างเรา ๆ นั้นมีโอกาสที่ดีมาก มีอาหารการกินที่ดีทุกอย่าง อยากได้อะไรก็ได้ และยังมีโอกาสได้รับการศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มที่ ซึ่งนักเรียนเหล่านั้นจะได้รับการศึกษาคงจะไปไม่ถึงระดับที่เราได้ ส่วนที่เราได้รับก็เป็นพิเศษแล้ว

สรุปได้ว่า สาเหตุที่พระองค์ท่าน เจริญรอยพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อประเทศชาติ และบำเพ็ญพระราชกุศลเป็นอุดมการณ์ที่พระองค์ท่านปฏิบัติงาน ซึ่งหากพวกเราทั้งหลายมีอุดมการณ์และมีกำลังใจที่จะฟันฝ่าอุปสรรคและมีกำลังใจดีๆที่จะทำงานขึ้นไป
ตอนที่ได้โดยเสด็จพระราชดำเนินนั้น ได้ซักถามประวัติผู้ที่เจ็บไข้ทรงทราบว่าทรัพย์สิน ที่ทางที่มีอยู่ต้องขายไปเพื่อรักษาตัว ถ้าเป็นคนยากจนก็ถือว่าเป็นคนขี้เกียจ ตอนที่ไปโดยเสด็จพระราชดำเนิน นั้น ส่วนมากก็เห็นในสิ่งที่ยังต้องปรับปรุงอยู่แทบทั้งนั้น อย่างที่เวลาไปเปิดหน่วยแพทย์ และได้ถามประวัติผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วย ได้ซักประวัติแล้วกี่ร้อยกี่พันรายนั้น โดยมากจะเกิดอย่างเดียวกัน คือเมื่อเจ็บไข้แล้ว ที่ทางที่มีอยู่ก็ต้องขายไปเป็นค่ารักษาตัว จากคนที่เป็นชนชั้นปานกลางก็กลายเป็นคนที่ยากจนข้นแค้นเป็นคนเดือดร้อนไป คนเหล่านี้ก็ไม่มีแรงที่จะทำงาน เมื่อไม่มีแรงทำงานก็จน จนก็เหมือนกับเป็นคนขี้เกียจ มันก็เป็นลูกโซ่ไปอย่างนี้ 

พระองค์ท่านทรงมีพระราชกระแสที่รับสั่งที่องค์การสหประชาชาติใจความว่า “ข้าพเจ้าพบว่าโครงการจะประสบความสำเร็จดี ถ้ามีความร่วมมือร่วมแรงจากหลายฝ่าย รวมทั้งอาสาสมัครที่มีความตั้งใจช่วยงานเพราะการพัฒนาเป็น กระบวนการที่บูรณาการจึงต้องอาศัยการทำงานเป็นทีมเป็นหลัก กล่าวถึงบูรณาการ ข้าพเจ้าหมายถึงการพัฒนาแบบองค์รวม คือ มีทั้งเรื่องสุขภาพ การศึกษาอาชีพ

เพราะฉะนั้นเวลาที่ท่านไปทำงานท่านก็จะทรงงานแบบองค์รวม เน้นการัฒนาพื้นที่ในชนบททั้งสี่ด้าน นอกจากท่านจะพัฒนาแบบองค์รวมคือทำไปพร้อมๆกันไม่ได้ทำแค่เรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว ยังมีพระราชกระแสสำทับอีกว่า “เวลาไปพัฒนาเค้าก็จะต้องรักษาชีวิต ขนบธรรมประเพณีและวัฒนธรรมที่งามของชุมชน” นอกจากจะพัฒนาทั้งสี่ด้านแล้วยังมีพระราชกระแสสำทับมาอีกว่า “จะต้องรักษาวิถีชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของชนบทนั้นไว้” ในการพัฒนานั้นพระองค์จะทรงใช้การศึกษาเป็นตัวนำ และทรงรับสั่งว่า “กุญแจของการพัฒนา คือ การให้การศึกษาและการฝึกอบรม ในประสบการณ์ของข้าพเจ้าวิธีดั้งเดิมคือ การสร้างโรงเรียน ศูนย์เรียนรู้ของชุมชน ศูนย์ถ่ายทอดความรู้และศูนย์สาธิตการพัฒนายังเป็นวิธีการที่ใช้ได้ดี เพื่อให้ผู้คนในชุมชนในชนบทห่างไกลได้มีโอกาสได้รับการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ”

เวลาพระองค์ท่านไปพัฒนาพื้นที่ในชนบทที่ห่างไกลถ้าที่ไหนไม่มีสถานศึกษา ท่านก็จะทรงสร้างสถานศึกษา มีทั้งโรงเรียน ตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนสพฐ. ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา ถ้าที่ไหนมีโรงเรียนแล้วท่านก็จะไปช่วยเรื่องการพัฒนา เรื่องการศึกษาแล้วก็พัฒนาเป็นองค์รวมดังที่กล่าวมาแล้วหรือการพัฒนาแบบบูรณาการ คือไปที่โรงเรียนพัฒนาทั้งการด้านการศึกษา ด้านสุขอนามัย ทั้งพื้นฐานอาชีพรวมไปถึงเรื่องของสิ่งแวดล้อม และถ้าชุมชนในพื้นที่มีความพร้อมก็จะขยายผลจากโรงเรียนไปสู่ชุมชน สู่ประชาชน

พระองค์ท่านรับสั่งว่า “ครูในถิ่นทุรกันดารคือเครือข่ายในการพัฒนา จะเป็นผู้ที่นำการพัฒนาลงไปสู่ชุมชนและสะท้อนปัญหาของชุมชนขึ้นมา” ครูเป็นบุคลากรของรัฐที่มีอยู่ถึงในระดับชุมชน หน่วยราชการอื่นอย่างมากก็ถึงแค่ระดับตำบล เช่น เกาตรตำบล หรือส่วนใหญ่อาจอยู่แค่ในระดับอำเภอลงไปไม่ถึงระดับตำบล เพราะฉะนั้นครุในถิ่นทุรกันดารมีความสำคัญมาก พระองค์ทรงเริ่มทำโครงการต่างๆมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 และทรงพบปัญหาเกี่ยวกับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนว่ามีปัญหาด้านการขาดแคลนอาหาร

ท่านจึงมีพระราชกระแสว่า แทนที่จะเอาอาหารไปให้นักเรียนโดยตรง ครูและผู้ปกครองควรปลูกพืชผักแล้วเอามาเป็นอาหารกลางวัน นอกจากนักเรียนจะได้อาหารกลางวันแล้วนักเรียนยังได้ความรู้อีกด้วย จากนั้นท่านก็ทดลองทำอยู่หนึ่งปีและก็ได้ขยายงานต่อไปหลังจากที่ได้ทำโครงการนี้แล้วก็มีพระราชดำริทำโครงการอื่นๆตามมา โครงการที่เกี่ยวกับการศึกษาก็จะมีโครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ โครงการศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา โครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นต้น โครงการด้านสุขภาพอนามัย ยกตัวอย่างเช่น โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในชุมชนถิ่นทุรกันดาร โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน โครงการศูนย์เตาะแตะ เป็นต้น โครงการด้านสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น โครงการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน เป็นต้น โครงการด้านอาชีพ ยกตัวอย่างเช่น การงานพื้นฐานอาชีพ สหกรณ์ เป็นต้น ทรงรับสั่งว่า หากคนในชุมชนรวมตัวกันเป็นเป็นสหกรณ์ที่มีความเข้มแข็ง การจะทำอะไรก็จะประสบความสำเร็จ

ปัจจุบันพื้นที่โครงการมีมากกว่า 800 แห่ง ใน 159 อำเภอ 46 จังหวัด มีทั้งที่เป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนของสพฐ. โรงเรียนพระปริยัติธรรม โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม รวมไปถึงโรงเรียนสังกัดของกรุงเทพมหานคร ผมมีประสบการณ์ได้ไปทำงานเกี่ยวกับโรงเรียนของสพฐ. มีปัญหาเรื่องบุคลากรครูย้ายบ่อย พระองค์จึงทรงส่งเสริมให้เด็กในท้องที่มาเรียนและนำความรูที่ได้กลับไปพัฒนาบ้านเกิด

พระองค์ทรงแสดงปาฐกถาเกี่ยวกับการศึกษาไว้ว่า “การศึกษาเป็นการสืบทอดความรู้ความสามารถที่มนุษย์ได้ฝึกฝนค้นจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง พร้อมทั้งอบรมผู้ศึกษาให้สามารถเรียนรู้พัฒนาตนเองแบบคิดเป็นทำเป็น” ในการพัฒนาด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา ด้านอาชีพ ด้านสุขภาพอนามัย ด้านสิ่งแวดล้อม พระองค์ท่านทรงใช้การศึกษาในการพัฒนาทั้งสิ้น ทรงยึดหลักการทรงงาน โดยใช้แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และใช้การศึกษาเป็นกระบวนการในการพัฒนา โรงเรียน อาจมีการจัดศูนย์เรียนรู้เพื่อให้ความรู้แก่คนในชุมชน โดยอยู่บนเงื่อนไขของความรู้และคุณธรรม


*ถอดความจากการบรรยายพิเศษในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการเยาวชนคนดี รู้คุณแผ่นดิน ปี 2557
วันที่ 27 กันยายน 2557 ที่โรงแรมนารายณ์ 

ต่อยอดความรู้ สู่การปฏิบัติ

คำกล่าวเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการต้นกล้าความดี ตามวิถีพอเพียง

พลังความรู้นำเยาวชนสู่ยุค 4.0 4.0 เป็นคำที่สะท้อนของวิวัฒนาการ จากยุคที่เราเคยล่าสัตว์ ทำการเกษตร บัดนี้ก็มาถึงยุคที่เราจะต้องสร้างและขับเคลื่อนสังคมด้วยนวัตกรรม

ผู้บริหารกับการบ่มเพาะเยาวชนให้เป็นต้นกล้าความดี ในวิถีพอเพียง

พลังความรู้นำเยาวชนสู่ยุค 4.0 4.0 เป็นคำที่สะท้อนของวิวัฒนาการ จากยุคที่เราเคยล่าสัตว์ ทำการเกษตร บัดนี้ก็มาถึงยุคที่เราจะต้องสร้างและขับเคลื่อนสังคมด้วยนวัตกรรม

พลังความรู้นำเยาวชนสู่ยุค 4.0

พลังความรู้นำเยาวชนสู่ยุค 4.0 4.0 เป็นคำที่สะท้อนของวิวัฒนาการ จากยุคที่เราเคยล่าสัตว์ ทำการเกษตร บัดนี้ก็มาถึงยุคที่เราจะต้องสร้างและขับเคลื่อนสังคมด้วยนวัตกรรม

keyboard_arrow_up