Skip to main content

ข้อควรรู้เพื่อเตรียมการเดินทางไปต่างประเทศ

26 - 29 กันยายน 2557
ผู้เข้าชม 11,228

โดย คุณต้องฤดี มากบุญ
เลขานุการกรมการกงสุล


กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ถือเป็นกรมที่ให้บริการทางด้านการทูตเพื่อประชาชนที่เห็นได้ชัดที่สุด

งานของกระทรวงการต่างประเทศมิใช่ดูแล เฉพาะภายในประเทศ แต่ยังคุ้มครองผลประโยชน์ของคนไทยใน ต่างประเทศด้วย ในส่วนที่เกี่ยวกับหัวข้อในวันนี้คือเรื่อง ข้อควรรู้เพื่อเตรียมการเดินทางไปต่างประเทศ มีความรู้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ควรทราบก่อนเดินทางไปต่างประเทศ จริง ๆ ทุกท่านคงมีประสบการณ์กันแล้ว ขอย้ำอีกนิดหน่อยเท่านั้นโดยจะขอ เริ่มต้นที่การทำความรู้จักกับ หนังสือเดินทางไทย ปัจจุบันเป็นหนังสือเดินทางไทยเป็นอิเล็คทรอนิกส์ ซึ่งได้เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2548 นั่นคือระยะที่หนึ่ง แต่ตอนนี้ได้ใช้หนังสือเดินทางระยะที่สองแล้ว

หนังสือเดินทางอิเล็คทรอนิกส์แตกต่างจากหนังสือเดินทางอื่นอย่างไร หนังสือเดินทางอิเล็คทรอนิกส์เป็นหนังสือเดินทางที่มีการเก็บข้อมูลชีวภาพ ในระยะที่หนึ่ง ทำการเก็บลายนิ้วมือห้านิ้ว เมื่อถึงระยะที่สองเป็นการ เก็บลายนิ้วมือเป็นสิบนิ้ว และข้อมูลเหล่านี้ก็จะอยู่ในหนังสือเดินทางเพื่อใช้พิสูจน์ตัวตนของผู้ถือหนังสือเดินทาง ไทยเป็นประเทศแรก ๆ ที่ใช้หนังสือเดินทางระบบนี้ที่ใช้หนังสือเดินทางอิเล็คทรอนิกส์ก็เพื่อใช้พิสูจน์ตัวตน ป้องกันการปลอมแปลง ตั้งแต่ที่ใช้หนังสือเดินทางอิเล็คทรอนิกส์นี้ ไม่เคยเจอการปลอมแปลงหนังสือเดินทางเลย เนื่องด้วยมีการบรรจุข้อมูลชีวภาพตามที่กล่าวข้างต้น

หนังสือเดินทางไทยในปัจจุบันมี 5 ประเภท คือ

  1. หนังสือเดินทางบุคคลธรรมดา เล่มสีน้ำตาล
  2. หนังสือเดินทางราชการเล่มสีน้ำเงิน
  3. หนังสือเดินทางทูตเป็นเล่มสีแดง หนังสือเดินทางทูตจะใช้เฉพาะข้าราชการของกระทรวงการต่างประเทศ
  4. หนังสือเดินทางสำหรับพระภิกษุและสามเณรเป็นเล่มสีเหลือง
  5. หนังสือเดินทางชั่วคราวเป็นเล่มสีเขียว ใช้ในกรณี อาทิเช่น พี่น้องมุสลิมจะต้องเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หนังสือเดินทางนี้มีอายุไม่เกิน 2 ปี หรือเวลาที่พวกเราเดินทางไปต่างประเทศแล้วทำหนังสือเดินทางหาย เมื่อไปขอหนังสือเดินทางที่สถานทูตฯ ทางสถานทูตฯก็จะออกหนังสือเดินทางเล่มสีเขียวให้เพื่อใช้เดินทางกลับประเทศ เป็นต้น

หนังสือเดินทางราชการ ออกให้ข้าราชการและก็เจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน และสมาชิกรัฐสภาซึ่งจะต้องมีหน้าที่เดินทางไปต่างประเทศหรือบุคคลที่ทางกระทรวงทบวงกรมมอบหมายให้ไปราชการต่างประเทศ ตามระเบียบหนังสือเดินทางเราใช้ระเบียบของกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทางปี 2548 การทำหนังสือเดินทางจะต้องเตรียมเอกสารให้พร้อมที่จะมายื่นทำหนังสือ คือ ควรจะต้องมีเอกสารหลักฐานมาให้ครบถ้วน โดยมีหนังสือนำจากต้นสังกัด คือ จากปลัดกระทรวงของผู้ที่แจ้งขอถึงปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหนังสือนำที่ระบุว่าอนุมัติให้ท่านเดินทางไปที่ไหน ระบุประเทศและวันเวลาที่จะเดินทางด้วย นอกจากนั้นจะต้องมีบันทึกอนุมัติซึ่งเป็นบันทึกภายในซึ่งอนุมัติตัวบุคคลพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าใช้จ่ายที่อนุมัติในการเดินทางแนบมาด้วย จากนั้นต้องนำบัตรประจำตัวข้าราชการหรือบัตรประชาชนก็ได้ ที่มีเลข 13 หลัก หรือสำเนาทะเบียนบ้านมาแสดง หนังสือเดินทางราชการมีอายุไม่เกิน 5 ปี อันที่จริงมีการระบุไว้ว่า เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ หรือ เมื่อผู้ถือหนังสือเดินทางขาดคุณสมบัติ โปรดส่งหนังสือเดินทางนั้นคืนกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นการระบุไว้อย่างกว้างๆ ในกรณีที่ท่านอาจจะเกษียณอายุราชการไปก่อนที่หนังสือเดินทางจะครบอายุอันนี้เราก็เลยมีระบุไว้หนังสือเดินทางนี้ใช้ในกรณีเดินทางไปราชการเท่านั้น ถ้าท่านจะเดินทางไปท่องเที่ยวท่านก็ต้องใช้อีกเล่มหนึ่งคือหนังสือเดินทางบุคคลธรรมดาเล่มสีน้ำตาล ท่านคงจะมีโอกาสได้มาทำที่กรมการกงสุล

หนังสือเดินทางบุคคลธรรมดา ทำได้ไม่ยากใช้เพียงถือบัตรประจำตัวประชาชน หนึ่งใบพร้อมค่าธรรมเนียม 1,000 บาท หนังสือเดินทางอาจจะมีข้อปัจจัยอื่นๆ เพิ่มขึ้น หากว่าผู้ที่ทำเป็นบุตรหลานของท่านที่อายุยังไม่ถึง 20 ปี คนที่บรรลุนิติภาวะแล้วจะใช้บัตรประชาชนใบเดียว ถ้ายังไม่บรรลุนิติภาวะพ่อแม่ต้องมาแสดงตัวพร้อมทั้งผู้ที่ยื่นคำร้องพร้อมบัตรประชาชนของลูกหลานหรือใบสูติบัตรนำมาด้วยรวมทั้งบัตรประชาชนของบิดามารดา หากลูกหลานมีหนังสือเดินทางเล่มเก่าอยู่ขอให้นำมาด้วย กรณีที่บิดามารดาไม่สามารถมาพร้อมกันได้จะไม่สามารถทำหนังสือเดินทางได้ ในกรณีที่บิดามารดาไม่สามารถมาได้ ต้องไปทำหนังสือแสดงความยินยอมให้บุตรหลานทำหนังสือเดินทางที่เขตหรืออำเภอมาแสดง สำหรับถ้ามาได้คนเดียวอีกคนจะต้องทำหนังสือยินยอม ถ้าไม่สามารถมาได้ทั้งคู่ก็ให้ทำหนังสือยินยอมมาทั้งคู่

ทุกวันนี้จะทำหนังสือเดินทางได้ที่ไหนบ้าง ในกรุงเทพ ทำได้ที่กรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ หนังสือเดินทางราชการได้ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ อาคาร B ในกรุงเทพจะมีสำนักงานหนังสือชั่วคราวบางนา ที่เซนทรัลบางนา สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวปิ่นเกล้า ที่โลตัสปิ่นเกล้า และสำนักงานหนังสือเดินทางสำหรับไปทำงานต่างประเทศ ตั้งอยู่ที่กระทรวงแรงงาน ทำได้เฉพาะแรงงานที่มีใบส่งตัวจากกรมแรงงานเท่านั้น ส่วนสำนักงานในภูมิภาคจะมีอยู่หลายแห่งด้วยกัน ทางภาคเหนือ มีที่ เชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก นครสวรรค์ ภาคอีสานที่อุดรธานี อุบลราชธานี ขอนแก่น นครราชสีมา ภาคตะวันออกที่จันทบุรีและพัทยา ภาคใต้ที่สุราษฎ์ธานี สงขลา ภูเก็ต ยะลา

เวลาที่ใช้ทำหนังสือเดินทางประมาณ 15 – 20 นาที เริ่มต้นจากการรับบัตรคิว วัดส่วนสูง ก็เข้าไปในช่องบริการที่จะบันทึกข้อมูลชีวภาพ จากนั้นไปชำระเงิน ถ้าประสงค์จะส่งกลับทางไปรษณีย์มีค่าส่ง 40 บาท รับเล่มหนังสือเดินทางได้ภายใน 3 วันทำการ สำหรับสำนักงานในกรุงเทพ ถ้าเป็นสำนักงานในต่างจังหวัดจะสามารถรับได้ภายใน 5 – 7 วันทำการ ดังนั้น ขอให้ทุกท่านได้วางแผนให้ดี หากทราบวันเดินทางต้องวางแผนให้ดีว่าจะต้องคำนวณว่าต้องใช้เวลาขอวีซ่าหรือเปล่า จะได้ทราบว่าต้องทำหนังสือเดินทางล่วงหน้ากี่วัน ถ้ามาทำที่กรุงเทพฯ 3 วัน ถ้าสำนักงานต่างจังหวัด 7 วัน

ปัจจุบัน กรมการกงสุลได้ร่วมกับบริษัทไปรษณีย์ไทย มีบริการส่งหนังสือเดินทางด่วนพิเศษอันนี้จะส่งถึงมือภายใน 3 วันทำการ อันนี้เป็นโครงการนำร่องที่สำนักงานในกรุงเทพและปริมณฑลแต่อีกไม่นานก็จะขยายไปในเขตจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ในลำดับต่อไปเชื่อว่าจะส่งไปให้ที่ไปรษณีย์ในอำเภอเมืองภายใน 3 วันทำการเช่นกัน ขอรณรงค์ให้ทุกท่านหนังสือเดินทางทางไปรษณีย์ข้อดี คือ ไม่ต้องเสียเวลามารับเองเนื่องจากในแต่ละวันมีผู้มาใช้บริการ 2,000 – 3,000 คน ทำให้ที่จอดรถแออัด ส่งทางไปรษณีย์จะสะดวกกว่า แต่ถ้าเป็นไปรษณีย์ด่วนพิเศษจะมีค่าธรรมเนียม 60 บาท บางคนอาจจะคิดว่าหนังสือเดินทางเป็นหนังสือสำคัญไม่ควรส่งทางไปรษณีย์ แต่จริง ๆ แล้วมั่นใจได้เลย เพราะไม่เคยมีไม่ถึงมือผู้รับ ไม่เคยมีสูญหายและถ้าหากเล่มสูญหายก็ทำให้ใหม่ จึงขอฝากท่านประชาสัมพันธ์ให้ใช้บริการส่งทางไปรษณีย์จะสะดวกกว่า

ในการเดินทางไปต่างประเทศหนังสือเดินทางต้องมีอายุเกิน 6 เดือน มิฉะนั้นจะไม่สามารถเดินทางได้ ซึ่งเป็นกฏที่ประเทศอื่น ๆ ซึ่งกำหนดไว้ไม่เหมือนกัน บางประเทศกำหนดว่า เมื่อเดินทางไปถึงหนังสือเดินทางต้องมีอายุ 6 เดือน ในวันที่เดินทางถึง บางประเทศก็อาจจะกำหนด 6 เดือน ก่อนวันเดินทางออกนอกประเทศนั้น ๆ ในหลายกรณีเป็นกฏของสายการบิน

เรื่องของวีซ่า ขณะนี้เป็นช่วงที่กำลังจะก้าวสู่ AEC การเดินทางไปในกลุ่มประเทศอาเซียนถ้าเป็นหนังสือเดินทางราชการได้รับการยกเว้นวีซ่าทุกประเทศ ส่วนหนังสือเดินทางธรรมดาจะมีแต่ประเทศพม่าที่ยังต้องขอวีซ่าอยู่ ขอให้ตรวจสอบ ขั้นตอนเอกสารที่ต้องใช้ในการขอวีซ่าของแต่ละประเทศเพื่อที่เราจะได้วางแผนการเดินทางที่ถูกต้องได้

หลายท่านอาจจะเข้าใจผิดว่าการอนุมัติวีซ่า เป็นอำนาจของกระทรวงการต่างประเทศ ในความเป็นจริงไม่ใช่ของกระทรวงการต่างประเทศ การออกวีซ่าให้หรือไม่ออกให้นั้น เป็นดุลพินิจ และเป็นเอกสิทธิ์เด็ดขาดของสถานทูตสถานกงสุลของต่างประเทศในประเทศไทย

ในการเตรียมตัวเดินทางไปต่างประเทศ สิ่งที่ควรจะมี คือ หมายเลขติดต่อสถานทูตส ถานกงสุลใหญ่ของไทยในต่างประเทศติดตัวไว้ตลอดเวลา และการคำนึงถึงโดยการสอบถามหรือหาข้อมมูลเลี่ยงกับข้อห้ามต่างๆ เนื่องจาก หลายประเทศมีข้อห้ามในการนำของเข้า ประเภทผัก ผลไม้ อาหารบางชนิดที่ห้ามนำเข้าอย่างเด็ดขาด ที่จะรับฝากสิ่งของเพราะอาจมีปัญหาถูกตรวจค้น ถูกยึดของจากด่านตรวจคนเข้าเมืองของประเทศนั้น

ในเวลาเดินทางไปต่างประเทศ ถ้าเป็นข้าราชการไปเจ็บไข้ได้ป่วย รัฐคงจะรับผิดชอบ แต่ถ้าเดินทางไปเองขอแนะนำให้ทำประกันสุขภาพด้วย

กรมการกงสุล มีเว็บไซต์ที่สามารถเข้าไปตรวจสอบข้อมูลได้ และค้นหาเอกสารประกอบการยื่นขอหนังสือเดินทาง การขอหนังสือนำและบริการอื่นๆ ของกรมการกงสุล ไม่ว่าจะเป็นงานรับรองเอกสารหรือว่างานอื่น ๆ กรมการกงสุลยินดีให้บริการทุกท่าน

*ถอดความจากการบรรยายพิเศษในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการเยาวชนคนดี รู้คุณแผ่นดิน ปี 2557 วันที่ 29 กันยายน 2557 ที่ โรงแรมนารายณ์

ต่อยอดความรู้ สู่การปฏิบัติ

คำกล่าวเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการต้นกล้าความดี ตามวิถีพอเพียง

พลังความรู้นำเยาวชนสู่ยุค 4.0 4.0 เป็นคำที่สะท้อนของวิวัฒนาการ จากยุคที่เราเคยล่าสัตว์ ทำการเกษตร บัดนี้ก็มาถึงยุคที่เราจะต้องสร้างและขับเคลื่อนสังคมด้วยนวัตกรรม

ผู้บริหารกับการบ่มเพาะเยาวชนให้เป็นต้นกล้าความดี ในวิถีพอเพียง

พลังความรู้นำเยาวชนสู่ยุค 4.0 4.0 เป็นคำที่สะท้อนของวิวัฒนาการ จากยุคที่เราเคยล่าสัตว์ ทำการเกษตร บัดนี้ก็มาถึงยุคที่เราจะต้องสร้างและขับเคลื่อนสังคมด้วยนวัตกรรม

พลังความรู้นำเยาวชนสู่ยุค 4.0

พลังความรู้นำเยาวชนสู่ยุค 4.0 4.0 เป็นคำที่สะท้อนของวิวัฒนาการ จากยุคที่เราเคยล่าสัตว์ ทำการเกษตร บัดนี้ก็มาถึงยุคที่เราจะต้องสร้างและขับเคลื่อนสังคมด้วยนวัตกรรม

keyboard_arrow_up